การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

ศุภวิชญ์ จิราพงษ์
ธนัสถา โรจนตระกูล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถามกับประชาชน จำนวน 400 คน ที่ได้จากสูตรของยามาเน่ (Yamane) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ด้วยการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบ Enter Method และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน วิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการสร้างข้อสรุป
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยด้านศักยภาพของชุมชนส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัจจัยด้านการส่งเสริมและสนับสนุนของหน่วยงานส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ตำบลวังนกแอ่น อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  และ 3) แนวทางที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ 4 แนวทางด้วยกัน ดังนี้ 1) เสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กรผู้นำชุมชน 2) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรมให้ประชาชนทราบ 3) ประสานงานหน่วยงานภาครัฐเพื่อร่วมกันวางแผนและประสานการดำเนินงาน 4) มีรูปแบบวิธีการการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ให้ชัดเจน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญศิษฏ์ พงษ์เถื่อนใย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: ศึกษากรณีบ้านพุน้าร้อนหมู่ที่ 12 ตำบลบ้านเก่าอำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี.

วิภาวรรณ มะลิวรรณ์, อภิชาต ใจอารีย์ และ ประสงค์ ตันพิชัย. (2560). แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชุมชนเขาขลุง ตำบลเขาขลุง อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (2537). ปัญหาของทรัพยากรธรรมชาติและ

สิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : https://www.Saranu kromthai.or.th/b/book/book. php ?boo k=21&chap=8&page=t21-8-infodetail03.html.

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี). (2561). ทรัพยากรป่าไม้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : http://www. mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9367.

สำรวย สุดเฉลียว, สันต์ เกตุปราณีต และปัสสี ประสมสินธ์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้บริเวณพื้นที่่สงวนแห่งชาติป่าดงระแนง อำเภอยางตลาด และอำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวนศาสตร์. 33 (1), 47-56.

องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ. 2561-2565). เพชรบูรณ์: องค์การบริหารส่วนตำบลวังนกแอ่น.