ประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาตลาดริมยม ชุมชนบ้านกง อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

กฤษณะ เนียมหอม
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานกรณีศึกษาตลาดริมยม 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาตลาดริมยม 3) แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษาตลาดริมยม ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับประชาชนในเขตชุมชนบ้านกง จำนวน 329 คน ใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน กรณีศึกษา ตลาดริมยม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และสถานภาพ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อมีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ไม่แตกต่างกันทุกด้าน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.  แนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนเป็นฐานพบว่า 1) การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ 2) การสร้างเสน่ห์ให้กับแหล่งท่องเที่ยว 3) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้ากับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 4) การสร้างความร่วมมือกับสมาคมการท่องเที่ยว 5) การรวมกลุ่มของประชาชน 6) การอนุรักษ์และพัฒนาบริบทพื้นที่ วิถีชีวิต และ7) การสร้างจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยว


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2550). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปพน บุษยมาลย์ และคณะ. (2562). การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการท่องเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี : กรณีศึกษาตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

วิไลพร เสถียรอุดร. (2561). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิวาพร พยัคฆนันท์ และคณะ. (2564). การพัฒนาศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวชุมชนผ้าไหมทอมือตำบลสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารธรรมศาสตร์. 40 (2), 130-156.

อนุชาติ พวงสำลี. (2540). ประชาสังคม : คำ ความคิดและความหมาย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.