การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงาน และส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก 2) การประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (MOU) ของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก และ3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับภาคีเครือข่าย จำนวน 263 คน โดยเก็บจากประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการประสานความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (MOU) ของภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานของศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย มี 4 แนวทางด้วนกัน คือ 1) การจัดการศึกษาเฉพาะ 2) การจัดอบรมบุคลากร 3) การพัฒนา 4) การดำเนินงานร่วมกัน
Article Details
References
กรมราชทัณฑ์. (2561). คู่มือการดำเนินงานศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ. กรุงเทพมหานคร: กรมราชทัณฑ์.
ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก. (2563). รายงานผลการดำเนินงานศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก. พิษณุโลก: ทัณฑสถานหญิงพิษณุโลก.
ทิวาพร เดชมณี. (2560). การกลับใจของผู้พ้นโทษผ่านทางการใช้ชีวิต ในบ้านกึ่งวิถีแนวคริสต์ : ศึกษากรณีบ้านกึ่งวิถีบ้านพระพระของมูลนิธิพันธกิจเรือนจำคริสเตียน. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริหารสาธารณะ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
ยศพนต์ สุธรรม. (2561). รูปแบบการมีส่วนร่วมเพื่อคืนคนดีสู่สังคมระหว่างศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเรือนจำกลางฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.