แนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่อำเภอ กรณีศึกษาอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

Main Article Content

สันติ ปัญญา
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          การค้นคว้าอิสระเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่อำเภอ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่อำเภอ และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่อำเภอ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จากการแจกแบบสอบถามกับคณะกรรมการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาระดับอำเภอ จำนวน 126 คน โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test และ F-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1. การบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. การเปรียบเทียบ พบว่า คณะกรรมการบริหารงานอำเภอแบบบูรณาการที่มี เพศ อายุ การศึกษา ความเกี่ยวข้องกับการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแบบมีส่วนร่วมในระดับพื้นที่อำเภอ ไม่แตกต่างกัน 3. แนวทางการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่อำเภอ คือ 1) การเตรียมความรู้ข้อมูลข่าวสาร 2) การศึกษาชุมชนโดยใช้กระบวนการ PRA 3) การวิเคราะห์เพื่อทำแผนแบบรู้เขารู้เรา (SWOT Analysis) 4) การจัดกระบวนการหมุนเวียนเรียนรู้ 5) การประเมินผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา เขียวเพกา. (2560). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนในองค์การ บริหารส่วนตําบลร่อนทอง อําเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จำลอง บุตรจันทร์. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในแผนพัฒนาสามปีขององค์การบริหารส่วนตำบลพุสวรรค์ อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

จุฬาลักษณ์ กอบัวกลาง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

ปัญญา เฉลียวชาติ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาตำบลขององค์การบริหารส่วนตำบลนครสวรรค์ออก อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักงาน. (2563). ความป็นมาอินเตอร์เนต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=2943.

สุเนติลักษณ์ ยกเทพ และ ยุภาพร ยุภาศ. (2560, พฤษภาคม). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร 5 (ฉบับพิเศษ), 182-191.

อัครวินท์ ศาสนพิทักษ์ และ วิมลรัตน์ ยิ้มละมัย. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตำบลวิเศษไชยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : พลังปัญญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาฯ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา, 135-145.