ศึกษาแอพลิเคชั่นที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ชนาธิป พรกุล
อมรา เล็กเริงสินธุ์
กฤษณวัจน์ โคตรชัย

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง ศึกษาแอพลิเคชั่นที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครูในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแอพลิเคชันที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของครู และ 2) ศึกษาปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยปทุมธานี จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามวิธีการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) แอพลิเคชันที่ครูนิยมใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์มากที่สุด คือ แอพลิเคชันไลน์ (Line) คิดเป็นร้อยละ 88.23 และ Google Meet น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 23.53
          2) ปัญหาที่ครูพบในการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ของนักเรียน คือ ปัญหาด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมที่ใช้สำหรับการเรียนแบบออนไลน์ ระดับมากที่สุด ปัญหาทางด้านการเงิน ปัญหาด้านพฤติกรรมของนักเรียน เช่น การบริหารจัดการเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองของนักเรียน นอกจากนั้นปัญหาด้านครอบครัวยังทำให้นักเรียนบางส่วนต้องทำงานเพื่อแบ่งเบาภาระครอบครัวขณะอยู่บ้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา บุญภักดิ์. (2563). การจัดการเรียนรู้ ยุค New Normal. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 19 (2), 1-6.

ธานี สุขโชโต และ วรกฤต เถื่อนช้าง. (2563). การดูแลช่วยเหลือนักเรียนและการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์โควิด-19. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 8 (2), 143-54.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา. The Journal of Chula horn Royal Academy. 2 (3),1-17.

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรีและ สุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบันปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (40), 200-213.

ศูนย์เฉพาะกิจการจัดการศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แนวทางการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้น มกราคม 22 2564. แหล่งที่มา: https://covid19.obec.go.th/.

สุรชัย โชคครรชิตไชย. (2563). โควิด-19: การระบาดระลอกใหม่ ในประเทศไทยปลายปี 2563. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 10 (3), ง-จ.

Lassoued, Z., Alhendawi, M., & Bashitialshaaer, R. (2020). An Exploratory Study of the Obstacles for Achieving Quality in Distance Learning during the COVID-19 Pandemic. Education Sciences. 10 (232), 1-13.

Marek, M.W., Chew, C.S., & Wu, W.V. (2021). Teacher Experiences in Converting Classes to Distance Learning in the COVID-19 Pandemic. International Journal of Distance Education Technologies. 19 (1), 89-109.

Nadeak, B. (2020). The Effectiveness of Distance Learning Using social media during the Pandemic Period of COVID-19:A Case in Universitas Kristen Indonesia. International Journal of Advanced Science and Technology. 29 (7), 1764-1772.

WHO? (2020). Archived: WHO Timeline - COVID-19. Online. Retrieved January 17, 2021, fromhttps://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline---covid-19.

WHO, UNICEF, &CIFRC? (2020). Key Messages and Actions for COVID-19 Prevention and Control in Schools. Online. Retrieved January 20, 2021. From: https://www.who. int/docs/default-source/coronaviruse/key-messages-and-actions-forcovid-19-preven tion-and-control-in-schools-march-2020.pdf?sfvrsn= baf81d52_ 4&download=true.