การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน

Main Article Content

เจนจิรา เหิมหัก
ธิติกาญจน์ ฐิติโสภณศักดิ์
สุพิชา พิทยะภัทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1/3 โรงเรียนอนุบาลวัดนางนองที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน ในภาพรวมมีคุณภาพความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าจำนวนและตัวเลข 1-5 มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและจุดประสงค์อยู่ในระดับ 1.00 ทุกข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่และร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า  นักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าจำนวนและตัวเลข 1-5 อยู่ในระดับดีทุกคน คิดเป็นร้อยละ   80-100 และนักเรียนมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ การรู้ค่าจำนวน 1-5 หลังได้รับประสบการณ์สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์ทุกคน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กาญจนา โยยิ่ง และ จุฑาพร รัตนมุสิก. (2563). ผลของการสอนโดยใช้นิทานร่วมกับแบบฝึกที่มีต่อทักษะคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 ของเด็กปฐมวัยชั้นปีที่ 1 ในจังหวัดตรัง. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 Community-led Social Innovation in the Era of Global Changes amidst Covid-19 Crisis: นวัตกรรมทางสังคมของชุมชนในยุคของการเปลี่ยนแปลงโลกท่ามกลางวิกฤตโควิด-19.วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564. อาคารอเนกประสงค์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช.

เธียร พานิช. 2544. 4 MAT การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน.กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษด์วงศ์.

นันท์นภัส เพชรมะดัน และคณะ. (2560). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยโดย ใช้กิจกรรมการเล่านิทาน. วิจัยในชั้นเรียนศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เนตรนภา ช่องงาม. (2560). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้นิทาน และวรรณกรรม. วิจัยในชั้นเรียนศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาการศึกษาปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

เพ็ญพิไล พรหมมี จุฑารัตน์ คชรัตน์ และชุติมา ทัศโร. (2563). การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านการรู้ค่าจำนวนตัวเลข โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาประเภทตัวเลข สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนขนาดใหญ่ใน อำเภอละงู จังหวัดสตูล, เอกสารประกอบการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. 25 มิถุนายน 2564.

พรพรรณ บุญเนตร. (2561). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โรงเรียนอนุบาลวัดนางนอง. (2564). ประกาศโรงเรียนอนุบาลวัดนางนองเรื่อง การจัดการเรียน การสอนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ฉบับที่ 2 ลงวันที่26 มิถุนายน 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2564.แหล่งที่มา: https://m.facebook.com/watnangnong.school/ photos/ a.445649678827271/ 431278 3312113869/?type=3&source=54&ref=page_internal.

วิจิตตรา จันทร์ศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. (2564). รายงานสถานการณ์จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://r8way. moph.go.th/8way/covid-19.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2551). คู่มือกรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้ บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โกโก้พรินท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2552). สอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิด Brain-Based Learning. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). แนวแนะวิธีการเลี้ยงดู ดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามสมรรถนะเพื่อเพิ่มคุณภาพเด็กตามวัย 0-5 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Riskiningtyas, et al. (2017). Improving Students’ Self-Efficacy Used Brain-Based Learning in Mathematics, In Proceedings of Ahmad Dahlan International Conference on Mathematics and Mathematics Education Universitas Ahmad Dahlan. [12 August 2021] Retrieved from http://seminar.uad.ac.id/index.php/adintercomme/article /view/39.