การใช้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุปลูกผักอินทรีย์ในกระบะเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และผลเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้สูงอายุ

Main Article Content

ธนชัย ฉลาดเฉลียว
จันทร์เพ็ญ ชุมแสง
พจนีย์ แสงมณี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในการเป็นวัสดุปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และผลเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือนของผู้สูงอายุ เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ (60-69 ปี) ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมอบรมการผลิตถ่านชีวภาพ การใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นวัสดุปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ ได้ดำเนินการปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ จนได้ผลผลิตผักอินทรีย์แล้ว ผู้วิจัยสอบถามความพึงพอใจหลังการปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ โดยใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในการเป็นวัสดุปลูก พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจ ระดับมากที่สุด ( = 4.80) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นวัสดุปลูก การผลิตถ่านชีวภาพ การปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ และระดับความคิดเห็นของผู้สูงอายุจากการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ในการเป็นวัสดุปลูกผักอินทรีย์ในกระบะส่งผลต่อสุขภาวะด้านร่างกาย ระดับมากที่สุด ( = 4.54) และสุขภาวะด้านสังคม จิตใจ สติปัญญา ระดับมาก ( =4.50, 4.47, 4.29) ตามลำดับ ส่งผลให้ผู้สูงอายุได้บริโภคผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ มีจิตใจผ่อนคลาย ลดความเครียด เกิดการได้เรียนรู้ เทคนิค วิธีการใหม่ในการใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ได้แลกเปลี่ยนความรู้กับคนในชุมชน และผลเชิงเศรษฐกิจในครัวเรือน ระดับมากที่สุด ( = 4.61) สามารถลดรายจ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมี จากการซื้อผักรับประทาน และได้ทานผักอินทรีย์ที่ปลูกเองส่งผลดีต่อสุขภาพ จะเห็นได้ว่าการปลูกผักอินทรีย์ในกระบะ โดยใช้ถ่านชีวภาพร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์เป็นวัสดุปลูก เป็นกิจกรรมที่เหมาะสมช่วยสร้างสุขภาวะทางกาย จิตใจ สังคม สติปัญญาของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง สังคมสูงอายุ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (มหาชน).

ชุติเดช เจียนดอน, นวรัตน์ สุวรรณผ่อง, ฉวีวรรณบุญสุยา และ นพพร โหวธีระกุล. (2554). คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุในชนบท อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://www.ph. mahidol.ac.th/phjournal/journal/41_3/03.pdf.

ทวีวงศ์ ศรีบุรี และเสาวนีย์ วิจิตรโกสุม. (2558). รายงานกิจกรรมส่งเสริม และสนับสนุนการวิจัยโครงการการปรับปรุงคุณภาพดิน และการเพิ่มผลผลิตด้วยถ่านชีวภาพ เพื่อความมั่นคงทางอาหาร และเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน. ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นนทรีย์ วงษ์วิจารณ์ และ สุปาณี สนธิรัตน. (2556). ทัศนคติต่อการเป็นผู้สูงอายุ การดูแลตนเอง ทักษะทางสังคม และความผาสุกในชีวิต ของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39 (2), 66-79.

ฝ่ายโภชนาการ โรงพยาบาลศิริราช. (2549). อาหารผู้สูงอายุ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2562.

แหล่งที่มา: https://www.si.mahidol.ac.th/th/division/shnd/index.asp.

พินิจภณ ปิตุยะ และคณะ. (2557). องค์ความรู้เรื่อง ถ่านชีวภาพ. เพชรบุรี : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

พัชรนินท์ ธนทรัพย์บุรโชติ และศศิธร สำราญจิต. (2559). การวิเคราะห์กระบวนการเก็บข้อมูลด้านการวิจัย กรณีศึกษาคณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. Mahidol R2R e-Journal. 3 (2), 56-69.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

ภัสชญภณ หมื่นแจ้ง. (2558). การวิจัยและพัฒนาเกษตรอินทรีย์. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ลัดดา ดำริการเลิศ. (2555). วิจัยมุ่งเป้าด้านสุขภาพช่วยเพิ่มคุณค่าการดูแลสุขภาพประชาชนได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

วสุ สันติมิตร. (2561). การปลูกผักสลัดในวัสดุปลูกแทนดินโดยไม่ใช้สารเคมีสำหรับชุมชนเมือง. วิทยาศาสตร์เกษตร. 49 (2), 441-442.

วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2558). รูปแบบการทำการเกษตรประณีตสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 33 (3), 76-96.

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2555). การเพิ่มการบริโภคพืช ผัก ผลไม้. กรุงเทพมหานคร :

โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2551). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2563. แหล่งที่มา: https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report1_8.pdf

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม. (2553). โครงการศึกษาเพื่อหารูปแบบการส่งเสริมการมีงานทำแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบท. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. (2540). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชี้วัด. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.