การวิเคราะห์การใช้ภาษาในภาพยนตร์แนวการแบ่งชนชั้นทางสังคมและ การเหยียดเชื้อชาติ กรณีศึกษา The Help และ Hidden Figures

Main Article Content

สพลเชษฐ์ ประชุมชัย
ณัฐชยา หุมนา

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์การสร้างคำใหม่ในภาพยนตร์ The Help และ Hidden Figures 2) เพื่อวิเคราะห์ความหมายแฝงในภาพยนตร์ The Help และ Hidden Figures 3) เพื่อวิเคราะห์วัจนลีลาในภาพยนตร์ The Help และ Hidden Figures 4) เพื่อวิเคราะห์หน้าที่ของภาษาในภาพยนตร์ The Help และ Hidden Figures และ 5) เพื่อเปรียบเทียบการสร้างคำ ความหมายแฝง วัจนลีลา และหน้าที่ของภาษาระหว่างภาพยนตร์ The Help และ Hidden Figures ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บทสนทนาในภาพยนตร์เรื่อง The Help จำนวน 11,588 คำ 1,849 ประโยคและบทสนทนาในภาพยนตร์เรื่อง Hidden Figures จำนวน 10,968 คำ 1,531 ประโยค รวมตัวอย่างในการวิเคราะห์ทั้งหมด 22,556 คำ 3,380 ประโยค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือทฤษฎีการวิเคราะห์ การสร้างคำของ (Yule G, 2010 : 22 ) ความหมายแฝงของ (Leech G, 1981 : 22 - 23 ) วัจนลีลาของ (Joos M, 1967 : 23 - 79) และหน้าที่ของภาษาของ (Jacobson R, 1960 : 7) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ผลวิจัยพบว่า 1) Derivation (การเติมหน่วยคำแปลง) คือการสร้างคำที่พบมากที่สุด ในภาพยนตร์ The Help จำนวน 155 คำ และในภาพยนตร์เรื่อง Hidden Figures จำนวน 182 คำ 2) Connotative (ความหมายแฝง) ในภาพยนตร์ The Help จำนวน 25 ประโยค และในภาพยนตร์ Hidden Figures  จำนวน 18 ประโยค 3) Formal (แบบทางการ) คือวัจนลีลาที่พบมากที่สุด ในภาพยนตร์ The Help จำนวน 199 ประโยคและในภาพยนตร์ Hidden Figures จำนวน 288 ประโยค และ 4) Directive (ด้านคำสั่ง) คือหน้าที่ของภาษาที่พบมากที่สุดในภาพยนตร์  The Help จำนวน 179 ประโยค และ Referential (ด้านอ้างอิง) คือหน้าที่ของภาษาที่พบมากที่สุดในภาพยนตร์ Hidden Figures จำนวน 196 ประโยค ในการวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในภาพยนตร์นั้นควรประกอบด้วย 4 ด้านดังนี้กระทำในการวิจัยนี้ เพราะทำให้มองเห็นการใช้ภาษาอังกฤษได้กว้างทั้งเชิงทางภาษาศาสตร์และเชิงการสื่อสารทางด้านภาษา อนึ่งกลวิธีการสร้างคำใหม่และความหมายแฝงนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษได้หลากหลาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ วงษ์สุข สกรรจ์ พรสุพรรณวงศ์ ลัดดาวัลย์ กิ่งรัก และณัฐกมล ปราศจาก. (2562). การวิเคราะห์โครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและโวหารภาพพจน์ในนวนิยายและภาพยนตร์ดัดแปลเรื่อง The Maze Runner. รายงานการวิจัย. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ :มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ธีร์วรา แสงอินทร์. (2553). กลวิธีการใช้ภาษาพาดหัวข่าวออนไลน์. วารสารอักษรศาสตร์, 41 (2), 172-183.

นันทวดี วงษ์เสถียร. (2557). การสร้างคำในสื่อโฆษณากลางแจ้งของไทย. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ปิยนุช พู่เกล้า และนภาศรี ทิมแย้ม. (2556). Word Formation Processes of Neologisms Found inWomen Cosmetic Advertisement in Women Magazines. วารสารมนุษยศาสตร์. 19 (1), 197-214.

สพลเชษฐ์ ประชุมชัย. (2563). การวิเคราะห์การใช้ภาษาอังกฤษในภาพยนตร์แนวเหยียดเชื้อชาติ กรณีศึกษา Greenbook และ The Butler. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสิทธุ์. (2541). ภาษาศาสตร์สังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Abidin, R. R. (2018). A Study of Language Style Used by Characters in Frozen Movie. ResearchReport. Research Institute : The State Islamic University of Sunan Ampel Surabaya.

Arum, P. N. (2015). An Analysis on Language Function Found in “Enchanted” Movie ScriptResearch Report. Research Institute : State Islamic Institute of Tulungagung.

Fitriyah, N. (2008). Language Style in News Week Magazine Advertisement. Research Report. Research Institute : The State Islamic University of Malang.

Hu, S. F. (2006). On Teaching Non-English Majors Listening and Speaking through Videos. China English Language Education Association Journal, 29(2), 42-48.

Jacobson, R. (1960). Linguistics and Poetics, Style in Language. Cambridge: Ma MIT Press.

Joos, M. (1967). The Five Clocks. New York: Harcourt, Brace & World.

Leech, G. (1981). Semantics, the Study of Meaning. (2nd ed). London: Penguin Books.

Purwaningtyas, T. (2016). A Morphological Analysis of Word Formation Process in Film Script “The Adventures of Tintin.” Research Report. Research Institute : State Islamic College of Ponorogo.

Putra, B. (2015). An Analysis of “The Child’s Story” by Charles Dickens: Connotation and Denotation of Adjective. Research Report. Research Institute : The State Islamic University of Sunan Ampel Surabaya.

Putri, O. D., Safnil, A. & Kasmani, U. (2018). Language Function Used in “Now You See Me2 Movie”. Journal of English Education and Teaching, 1 (2), 42-50.

Rasyidin, R. (2016). An Analysis of Language Style in “Fury” Movie. Research Report. Research Institute : The State Islamic University of Sunan Ampel Surabaya.

Sipahutar, I. Y. (2018). Language Styles in “Love Rosie” Movie : A Sociolinguistic AnalysisResearch Report. Research Institute : University Sumatera Utara.

Tueetor. (2020, 8 พฤษภาคม). วิธีฝึกภาษาอังกฤษจากการดูหนัง ได้ทั้งความรู้และความบันเทิง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. แหล่งที่มา https://tueetor.com/blog/th/language/ practice-english-skills-from-movie/.

Yule, G. (2010). The Study of Language. (4th ed.). Cambridge: Cambridge University Press.

Yulistiono, F. R. (2015). Language Functions Used by the Main Character in 12 Years a Slave Movie Transcript. Research Report. Research Institute : State Islamic Institute of Tulungagung.