การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

สราวุธ พรหมแสง
ชาญยุทธ หาญชนะ
นัสพงษ์ กลิ่นจำปา
ดนัย ลามคำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุข 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชากรในเขตพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973 : 125) ได้จำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
          ผลการวิจัยพบว่าการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี  ( = 3.92, S.D.= 0.50) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการปรับพฤติกรรมสุขภาพ โดยทำตนเป็นแบบอย่างและสร้างพฤติกรรมสุขภาพในชุมชน ( = 4.05, S.D.= 0.77) รองลงมาคือด้านการดูแลสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพและสาธารณสุขของประชาชนในหมู่บ้าน ( = 3.96, S.D.= 0.72) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชน (จากประสบการณ์ตนเองหรือผู้ที่อยู่ในความดูแล) ( = 3.88, S.D.= 0.72) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยภาพรวมพบว่าประชาชนที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ ควรมีการจัดทำเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีส่วนร่วมในการค้นหาปัญหาวางแผน และแก้ไขปัญหา


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉลอง สุดประเสริฐ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เขตรับผิดชอบเทศบาลตำบล จ.ป.ร. อำเภอกระบุรี จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ทองใบ สุดชารี. (2543). ทฤษฎีองค์การวิเคราะห์แนวความคิดทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เพ็ญศรี เปลี่ยนขำ. (2542). การสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร: โครงการตำราวิชาการ ราชภัฏเฉลิม.

วิทยา ชินบุตร และคณะ (2564) วิจัยเรื่องบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (2), 304-318.

สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุข. (2540). การดำเนินงานสาธารณสุขมูลฐานในประเทศไทย.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.