การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

ศุภวัฒน์ พรหมแสง
ชาญยุทธ หาญชนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว และเพื่อศึกษา 2) ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนที่มีบ้านเรือนอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ตำบลหนองบัว จำนวน 343 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973 : 125) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.74, S.D.= 0.42) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ( = 3.97, S.D.= 0.59) รองลงมาคือด้านส่งเสริมเศรษฐกิจ ( = 3.85, S.D.= 0.67) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านอำนวยการ ( = 3.41, S.D.= 0.60) 2) ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ พบว่า โดยภาพรวมประชาชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ไม่แตกต่างกัน และ 3) ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านควรตรงต่อเวลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์.

รัฐติพรศิริศรีและ สัญญา เคณาภูมิ. (2560). การปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการหมู่บ้าน ในเขต อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร . 5 (6), 42-50.

สุกิจ ปิลวาสน์. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการหมู่บ้านในการพัฒนาชุมชนตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช.

Pitnitha Pannasil. (2015). The Role Of Local Executive In The 21st Century. Journal of MCUPeace Studies, 3 (2), 146-161.

Yamane. (1967). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York: Harper &row.