การศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิจิตร เขต 1

Main Article Content

รชานนท์ เพ็งแตง
จิติมา วรรณศรี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เป็นการวิจัยแบบเชิงบรรยาย เกี่ยวกับสภาพในการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จำนวน 50 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 คน ครู ของสถานศึกษาพอเพียง จำนวน 100 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 150 คน สุ่มโดยแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามสภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 เก็บข้อมูลโดยโรงเรียนที่เป็นสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย พบว่าการศึกษาสภาพการบริหารจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก   เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.38) รองลงมาได้แก่ ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ อยู่ในระดับมาก  ( = 4.25)  ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.31)  ด้านหลักสูตรและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( = 4.27) และด้านที่มีการปฏิบัติต่ำที่สุด ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.26)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวทางการบริหารสถานศึกษาพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

เกวลี ยิ้มประเสริฐ. (2563). สภาพและแนวทางการบริหารสถานศึกษา สู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนิตา ลอยโพยม. (2552). การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปรีชา ศรีลับขวา. (2551). สภาพการใชหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในอําเภอฝาง สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแกน เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

รัชดา ทองสุข. (2552). การรับรูการบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผูบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

ลักษณารีย์ บุญโสภา. (2556). การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน สังกัด กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุวรรณา ตั้งใจ. (2563). สภาพและแนวทางการบริหารจัดการเรียรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 .การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อร่าม นุชพิทักษ์. (2552). ปัจจัยการบริหารจัดการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในเขตภาคเหนือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.