การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี ตามหลักสัปปุริสธรรม 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 4) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 383 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (One way analysis of variance) และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นตามหลักสัปปุริสธรรม 7 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชน พบว่าตัวแปรอิสระประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนทุกตัวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
4) แนวทางการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนตำบลโคกสี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ควรประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ในกิจกรรมทางการเมืองด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ด้านการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ด้านกิจกรรมการรณรงค์หาเสียง ด้านการติดต่อในฐานะของพลเมือง
Article Details
References
จรูญ สุภาพ. (2522). การพัฒนาประเทศ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2522.
ทรงพล โชติกเวชกุล และคณะ. (2564). พฤติกรรมของประชาชนในการตัดสินใจใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 2. Journal of Modern Learning Development. 6 (6), 244-265.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.
พระณัฐพงษ์ กิจฺจสาโร (พลเวียง). (2558). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ตามหลักสัปปุริสธรรม 7. วารสาร มมร. ร้อยเอ็ด. 4 (1), 104-118.
พระศตวรรษ กิตฺติปาโล. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการส่งเสริมการปกครอง ของพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7 (2), 313-314.
ลิขิต ธีรเวคิน. (2546). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.