การใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น จำนวน 376 คน โดยใช้สูตรของ Taro Yamane (Yamane. 1973 : 125) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมานได้แก่ T-test และ F-test สำหรับการเปรียบเทียบการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ที่จำแนกตามเพศ อายุการศึกษา อาชีพ และรายได้
ผลการวิจัย พบว่าการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.56, S.D.= 0.37) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการมีส่วนร่วมทางการเมือง ( = 4.62, S.D.= 0.44) รองลงมาคือด้านการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ( = 4.58, S.D.= 0.43) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ( = 4.50, S.D.= 0.44)
ผลการเปรียบเทียบการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ โดยภาพรวมพบว่า ประชาชนที่มีตามเพศ อายุการศึกษา อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน จะมีการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น ไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ แนวทางการพัฒนาในการใช้สิทธิเลือกผู้นำท้องถิ่นของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่น อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลหมูม่นควรเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสิทธิและอำนาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ
Article Details
References
คงฤทธิ์ กุลวงษ์. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล หนองบ่อ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต. 14 (3), 109-125.
เดือนฉาย จงสมชัย. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือตามเทคนิค STAD เรื่องสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
บุญเยี่ยม อยู่คง. (2550). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุภาพร อิ่มโพ . (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2562 ในอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี. Journal of Legal Entity Management and Local Innovation. 7 (5), 107-118.
อรนุช โจมาตุรงค์. (2549). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Taro Yamane. (1973).Statistics: An Introductory Analysis.(3rdEd).New York.Harper and RowPublications.