การศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาญี่ปุ่น ของโรงเรียน มัธยมศึกษา ที่เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ในเขตภาคเหนือ

Main Article Content

แก้วกัลยาณี ใจสมัคร
ณิรดา เวชญาลักษณ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มี จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพการบริหารการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาญี่ปุ่น ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ในเขตภาคเหนือ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนวิชาภาษาญี่ปุ่น รวมทั้งสิ้น 133 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า การบริหารการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาญี่ปุ่นของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนวิชาภาษาญี่ปุ่น ในเขตภาคเหนือโดยรวมอยู่ในระดับมาก ประกอบด้วย 1) ด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ พิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับสูงสุด คือ สนับสนุนการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 2) ด้านการปรับปรุง แก้ไขกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับสูงสุด คือ พัฒนาครูให้มีความก้าวหน้าทางวิชาชีพครู 3) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับสูงสุด คือ ประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ และ 4) ด้านการวัดผลและประเมินผลด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พิจารณาเป็นรายข้อ ข้อที่อยู่ในระดับสูงสุด คือ ใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลาย เหมาะสม ตรงตามจุดประสงค์ จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขจิตรารัตน์ แสนรัมย์. (2557). สภาพการบริหารงานด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ธนเดช กิจศุภไพศาล. (2562). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสอนภาษาจีนตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 79-91.

มติชนออนไลน์. (2564). พบบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยมากขึ้นจากปี 2557. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม

แหล่งที่มา:.https://www.tcijthai.com/news/2017/19/current/7436.

ยุพิน ประทุมมี. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนภาษาญี่ปุ่นในการเรียนแบบรวมกลุ่มผู้เรียนที่มีระดับความรู้พื้นฐานต่างกัน. วิทยานิพนธ์สาขาญี่ปุ่นศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วชิระ วิชชุวรนันท์และ คณะ. (2552). การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของ ครูผู้สอนภาษาอังกฤษในระดับประถมศึกษา. การวิจัยทุนอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วิเนส จันทะวงษ์ศร และคณะ. (2562). การบริหารจัดการการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารราชนครินทร์. กรกฎาคม- ธันวาคม, 61-67.

วลัยพร กาญจนการุณและ ธีรัช ปัญโญ. (2560). ความสำเร็จของนักเรียนและความคาดหวังของนักเรียน และผู้ปกครองต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. ทุนวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภลักษณ์ ศรีรุวัฒน์.(2561).การศึกษาสภาพและแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตรเขต 2 .วิทยานิพนธ์ สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

อัจฉรา อึ้งตระกูล. (2553).ปัญหาการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาเอกของมหาวิทยาลัยในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ สาขาภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาต่างประเทศ คณะอักษรศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อิซาโอะ ยามากิ. (2559). สถานการณ์การเลือกเรียนภาษาญี่ปุนในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคเหนือ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น. 10 (2), 52-62.

CHUNPING,ZHU .(2563). รูปแบบการบริหารการจัดการเรียนการสอนภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศสำหรับนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในมณฑลกวางซีประเทศจีน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

Japan Foundation. (2564). เรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยมีจำนวนประมาณ 174,000 คน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.jpf.go.jp/j/about/press /2016/057.html.

Japan Foundation. (2564). สำรวจคนเรียนญี่ปุ่น ปี 2018.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.jpf.go.jp/j/about/press/2019/029.html .

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.

Eduation and Psychological Measurement, 30 (3), 607- 610.