กระบวนการในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

รัชนีฉาย เฉยรอด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กระบวนการในการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1/2564 โรงเรียนนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 27 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาด้วยการเลือกแบบเจาะจง และไม่ได้ใช้เพศเป็นตัวแปรในการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบตรวจสอบรายการและใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละเป็นสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยแบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การประเมินตนเองเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ในสถานการณ์ต่าง ๆ และ 2. การสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารผ่านระบบออนไลน์ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวนี้ผู้สอนสามารถนำไปเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพและสอดรับกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการต่อไป 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเลื่อนเวลาเปิดภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 ของกระทรวงศึกษาธิการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: https://moe360.blog/2021/05/19/19-may-2564/

ชัชฎา อัครศรีวร นากาโอคะ และกฤชณัท แสนทวี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้เท่าทันข้อมูลและสื่อดิจิทัลของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 7 (1), 55–62.

โตมร อภิวันทนากร. (2552). คู่มือจัดกระบวนการและกิจกรรมเพื่อพัฒนาเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ปิ่นโตพับลิชชิ่ง.

นักรบ นาคสุวรรณ์. (2564). การรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาไทยในยุคดิจิตอล. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 15 (1), 490–502.

วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์. (2562). การบริโภคสื่อกับการรู้เท่าทันสื่อของคนไทย. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร. 2 (3), 170 – 183.