การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

ชิษณุพงศ์ อ่อนศิริ
ชาญยุทธ หาญชนะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ประชากร จำนวน 472 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือคณะผู้บริหาร สมาชิกสภา ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอหนองแสง โดยใช้สูตรของ Taro Yamane จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือสถิติพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสำหรับข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ T - test และ F - test สำหรับการเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และระดับตำแหน่ง 
          ผลการวิจัย พบว่าการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  ( = 3.64, S.D.= 0.36) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านหลักความรับผิดชอบ ( = 4.14, S.D.= 0.62) รองลงมาคือด้านหลักความคุ้มค่า ( = 3.98, S.D.= 0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านหลักการมีส่วนร่วม ( = 3.21, S.D.= 0.26) ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ที่จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และระดับตำแหน่ง โดยภาพรวมพบว่า เจาหนาที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีเพศ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และระดับตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ไม่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนวทางเสริมสร้างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ควรประชาสัมพันธ์ข้อบังคับและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปธาน สุวรรณมงคล, (2547). การปกครองท้องถิ่นไทย ในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก, 11 ตุลาคม 2540, 1-99.

Chokchutchawankul, A. (2013). The management according to good governance at the sub-district administrative organization: case study of NongYa Sai District area, Suphanburi Province. Thesis of Master of Education. Thongsook College. (in Thai).

Fukflang, S. (2014). Staff understands on management according good governance at Thahong

Meungpratup Phra. (2011). The administration of sub-district organization according to good governance Bangkrauy District Nonthaburi. Graduate SchoolMaster of Arts Thesis. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (in Thai).

Singsai, M. (2013). Staff’s understanding on good governance at Thai Chana SuekSub-district

Administrative Organization, ThungSaliam District, Sukhothai. Thesis of Master ofPublic Administration. Thongsook College. (in Thai).

Srivaranon, S. (2015). Management according to good governance at Chom Thong Sub-district Administrative Organization Mueang Phitsanulok Province. Thesis of Master of Education. Thongsook College. (in Thai)

Taro Yamane(1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd). New York.Harper and Row Publications.

Wongsriwong, P. (2015). Adaptation of good governance into management at LanKrabue Sub-district Administrative Organization LanKrabue District Kamphaeng Phet. Thesis of Master of Public Administration. Thongsook College. (in Thai).