การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและสังเคราะห์เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และระยะที่ 2 การศึกษาความคิดเห็น ของผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม ประจำปีการศึกษา 2564 จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่ามีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของคณะฯ กลยุทธ์การบริหารงานวิจัย การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย และความสัมพันธ์และเครือข่ายด้านความร่วมมือด้านงานวิจัย, 2) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารงานวิจัยของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับสูง เมื่อจัดลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ การใช้ประโยชน์จากงานวิจัย นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของคณะฯ การพัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านการวิจัย กลยุทธ์การบริหารงานวิจัยและความสัมพันธ์และเครือข่ายด้านความร่วมมือด้านงานวิจัย ตามลำดับ
Article Details
References
กรุณา วงษ์เทียนหลาย. (2562). การบริหารงานวิจัยสู่ความเป็นเลิศในคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 2 (3), 83-98.
กองบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. (2564). ออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 แหล่งที่มา https://personnel.rmutsb.ac.th/
เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2560). กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเพื่อพัฒนาสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 10 (2), 190-207.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: เทพเนรมิตการพิมพ์
ดวงเดือน ภูตยานันท์, ธีรวุฒิ บุณยโสภณ, วิเชียร เกตุสิงห์ และ ไพโรจน์ สถิรยากร. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 21 (2),
-376.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553).การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
บุศรา สาระเกษ. (2555). แนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏ.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รุจิรา เจียมอมรรัตน์ และอรชร อินทองปาน. (2555). การพัฒนาระบบและกลไกการส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22 (1), 68-75
วิลัยวรรณ ปู่ธิรัตน์, วันเพ็ญ นันทศรี, บุญมี ก่อบุญ.(2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดมธานี เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษา, 14 (65), 119-130.
สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ. (2560). (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). ออนไลน์ สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.nrct. go.th/Portals/0/Document/strategy60-79completecompressed.pdf
สินธะวา คามดิษฐ์, กานดา สกุลธนะศักดิ์ มัวร์ และ วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2555). การนำเสนอนโยบายการส่งเสริมการวิจัยใน สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 26 (79), 91-108.
เสาวลักษณ์ ชาวบ้านกร่าง, ปณตพร ติมากร, และกนกวรรณ นาสมปอง. (2564). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมชุมชน กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2554). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2554). คู่มือประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับอุดมศึกษา ฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
อุดมลักษณ์ บำรุงญาติ. (2554). การพัฒนาศักยภาพการวิจัยของคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. รายงานการวิเคราะห์ของคณะมนุษย์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัย ขอนแก่น
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.