การศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของส่วนงานด้านบำรุงรักษา การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

สันติ ไชยสีทา
ธรรมวิมล สุขเสริม

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทรัพยากรการบริหาร และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของส่วนงานด้านบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาอิทธิพลของทรัพยากรการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ ส่วนงานด้านบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มหน่วยงานเทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ติดต่อประสานงาน และประชาสัมพันธ์ร่วมกับพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยใช้แนวคิดของ Krejcie and Morgan (1970 : 45) อาศัยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความถดถอยเชิงพหุคูณ
          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุอยู่ระหว่าง 41-50 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประเภทผู้รับบริการ คือ ผู้นำชุมชน ในส่วนระดับความคิดเห็นของทรัพยากรการบริหาร  พบว่า ด้านความรับผิดชอบในหน้าที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 3.92, SD = 0.82) และด้านการติดตามงานมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.79, SD = 0.89) ส่วนระดับความคิดเห็นของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน พบว่า ด้านความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( = 4.10, SD = 0.77)  และด้านความเป็นธรรม/เท่าเทียมมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 3.90, SD = 0.90) สำหรับผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทรัพยากรการบริหาร ประกอบด้วย ความรับผิดชอบในหน้าที่ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การควบคุมงาน และการติดตามงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของส่วนงานด้านบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการบริหารจัดการไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (2563). แผนการดำเนินงาน ปี 2563, แผนยุทธศาตร์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) พ.ศ. 2563-2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://www. pea.co.th/.

กุสุมา ด้วงทา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพปฏิบัติงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

จิรพงศ์ ตันตระกูล. (2550). ความรู้และทัศนคติในการปฏิบัติงานที่มีต่อประสิทธิภาพในการซ่อมบำรุงรักษาของพนักงานรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน (BTS). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ประชัน คเนวัน. (2561). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานมหาบัณฑิตรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ราชภัฏบุรีรัมย์.

พรศิริ พรมถัน. (2557). กระบวนการบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การ กรณี TOPS Supermarket (บริษัท เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล จำกัด). การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ภาสกร เหมกรณ์. (2560). การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนของคณะกรรมการการอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

วรัชญา เตชะนอก. (2562). ความสัมพันธ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานประกันสังคม กรณีศึกษา สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมาหานครพื้นที่ 8. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

เศรษฐพัส ธเนษฐ์ภัคศพง และสมหมาย จันทร์เรือง. (2563). รายงานวิจัยประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. มหาวิทยาลัยสยาม.

เสกมนต์ สัมมาเพ็ชร์. (2559). รายงานวิจัยทรัพยากรการบริหารกับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษกลาง. มหาวิทยาลัยเกริก.

สำนักบริหารการปกครองท้องที่. (2563). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแยกรายจังหวัด. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2563. แหล่งที่มา: https://multi.dopa.go.th/pab/main/web_index.

เอกชัย ตรีทอง และอภิชาต ประสิทธิ์สม. (2561). การประเมินความเสี่ยงในการดำเนินงานโครงการก่อสร้างภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองท้องถิ่น อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

อัญชลี จอมคำสิงห์. (2561). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรกองการเจ้าหน้าที่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”, Educational and Psychological Measurement.