โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อ การวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มภาคกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ1. เพื่อศึกษาระดับทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มภาคกลาง 2. เพื่อศึกษาระดับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มภาคกลาง 3. เพื่อวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนกลุ่มภาคกลาง โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มภาคกลางและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 30 แห่ง จำนวนทั้งหมด 12,303 คน ของมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้วิจัยจึงใช้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 ตัวอย่าง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มภาคกลางและบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้สถิติโมเดลสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling)
ผลการวิจัยพบว่า
1.ระดับการปฏิบัติทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มภาคกลาง พบว่า ระดับการปฏิบัติทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มภาคกลางโดยรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
2.ข้อมูลความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเอกชน กลุ่มภาคกลาง โดยรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก
3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะการบริหารที่ส่งผลต่อการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัย กลุ่มภาคกลาง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยพิจารณาจากค่าไคกำลังสอง ( ) เท่ากับ 74.011 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 60 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ 0.096
จากการศึกษาผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่ายังต้องมีการพัฒนาในด้านการสื่อสาร เนื่องจากกลุ่มบุคคลให้ความสนใจที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งบุคลากรยังไม่สารมารใช้สื่อในการศึกษาค้นคว้าอย่างเต็มที่ นอกจากนี้จากการศึกษาในครั้งนี้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลยังเสนอแนะข้อของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในทุก ๆ ภาคส่วนควรมีกระบวนการสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดศักยภาพในกระบวนการทำงานทางศึกษามากยิ่งขึ้น
Article Details
References
ธัญญลักษณ์ เหล่าจันทร์. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้นำทางการศึกษากับกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเขต 2. วิทยานิพนธ์สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564). รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2558 ณ ศูนย์แสดงการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.