การเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์ โดยใช้นิทาน AR ชุดน้องปูไทยผู้มีวินัย กับการจัดประสบการณ์ตามปกติ

Main Article Content

อิสราภา เส็งเจริญ
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพ นิทาน AR ชุดน้องปูไทยผู้มีวินัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) การเปรียบเทียบผลความสามารถทางด้านการฟัง ก่อนและหลังการใช้ นิทาน AR ชุด น้องปูไทยผู้มีวินัย  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนเพชรถนอม  สำนักงานเขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร  ใช้วิธีการเลือกเจาะจง โดยใช้แบบแผนการทดสอบแบบ One Group, Pretest – Posttest Design  เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ (1) นิทาน AR ชุด น้องปูไทยผู้มีวินัย  (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบวัดผลความสามารถด้านการฟัง ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่แบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัยพบว่า (1) นิทาน AR ชุด คุณธรรมพื้นฐานสำหรับเด็ก มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.43/80.77 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ผลความสามารถด้านการฟัง โดยใช้วิธีการสอนด้วยนิทาน AR ชุด น้องปูไทยผู้มีวินัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลการ พานทองรักษ์ และ วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2562). หนังสือนิทานพื้นบ้านร่วมกับภาพถ่ายบุคคลเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการทางภาษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา, 15 (19), 60-72.

เกตน์นิภา ฮาดคันทุง. (2561). การพัฒนาการจัดปราบการณ์โดยการเล่านิทานด้วยเทคนิคที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านการฟังและการพูดสำหรับเด็กปฐมวัยที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เกวลี ผาใต้ และคณะ. (2561). ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีมิติเสมือนจริง เรื่องคำศัพท์ภาษาอังกฤษสัตว์โลกน่ารู้.วิทยานิพน์.สกลนคร:บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ชัยอนันต์ สาขะจันทร์. (2559). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สามมิติแบบมีปฏิสัมพันธ์เสมือนจริงโดยใช้เทคโนโลยี ความเป็นจริงเสริม เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาอาชีวศึกษาที่มีระดับการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่างกัน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณหทัย ทิวไผ่งาม. (2547). นิทานเครื่องมือหลักเพื่อพัฒนา ไอคิว อีคิว . ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2656. แหล่งที่มา: http://www.dmh.go.th/sty_lib/news/view.asp?id=6147.

พรทิพย์ ปริยวาทิต. (2558). การใช้บทเรียน Augmented Reality Code เรื่องคำศัพท์ภาษาจีนพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดตานีนรสโมสร. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พิชชุดา น่วมนองบุญ. (2561). การพัฒนาแบบฝึกเสริมการอ่านภาษาอังกฤษที่เน้นการเรียนศัพท์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 9. ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฟื่องฟ้า พันธุราษฎร์. (2563). การเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังใช้บัตรภาพ AR. วิทยานิพนธ์คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

หทัยภัทร อัมพรไพโรจน์ และกรวิภา สรรพกิจจำนง. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง สถานที่ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ หนังสือนิทาน AR ชุด The fun of travel. วิทยานิพนธ์คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

อเนก พุทธิเดช และคณะ. (2561). การพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขตโดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. วิทยานิพนธ์สาขาคณิตศาสตร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

Doloh, S. (2012).Theory of cognitive development Piaget. online. Retrieved July 27, 2016, from:http://sunisadoloh.blogspot.com/2012/09/blog-post_4.html. (in Thai)

Piaget.J. (1952). The Original Of intelligence in children. Trans, by Marget Cook. New York International Universitie Press.

Tongsorn, J. (2009). The use of film media stories to promote the skills of listening and speaking English for children from kindergarten to second . Phitsanulok: Community School 11 Temple Suwanpradit. (in Thai)

Wongplab, S. (2012).Promoting speaking skills of young children using storybooks. Chachoengsao:Saint Louis School. (in Thai)