การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยบทเรียนออนไลน์ บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก เรื่องระบบนิเวศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยบทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เรื่อง ระบบนิเวศ ด้วยบทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก เรื่อง ระบบนิเวศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 50 คน จำนวน 1 ห้อง ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์บน Google Sites 2) เกมวัน เดอ โก 3) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า (1) บทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก เรื่อง ระบบนิเวศ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.26/80.11 และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ด้วยบทเรียนออนไลน์บน Google Sites ร่วมกับเกมวัน เดอ โก เรื่อง ระบบนิเวศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (x̄ = 23.66 , S.D. = 2.08) สูงกว่าก่อนเรียน (x̄ = 15.90 , S.D. = 1.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และ ปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/ 2017420210820025238.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรการพิมพ์แห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักงาน คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). รมว.ศธ.คิกออฟเปิดห้องเรียนออนไลน์ “โรงเรียนหยุดได้ แต่การเรียนรู้ หยุด ไม่ได้”. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.obec.go.th/ archives/252307
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2559). อนาคตใหม่ของการศึกษาไทยในยุค Thailand 4.0. ออนไลน์. สืบค้น 1 พฤษภาคม 2560. แหล่งที่มา: http://www.li.mahidol.ac.th/conference2016/thailand4.pdf.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). การเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน (The 5 E’s of Inquiry-Based Learning). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2564. แหล่งที่มาhttps://www.trueplookpanya. com/blog/content/82385/-blog-teamet-
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์ สร้างห้องเรียนกลับทาง. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด
เมธาวี จำเนียร (2561). ประโยชน์ ปัญหา และแนวทางแก้ไขการใช้สื่อออนไลน์ ในการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพของโรงเรียน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารราชพฤกษ์. 16 (3), 113-121.
ปริญญา อินทรา. (2556). การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง วงจร อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ลัดดาวรรณ ศรีฉิม (2557) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเว็บ ด้วยโปรแกรม Google Sites ตามแนวทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้ เรื่อง หลักการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 10 (1), 129-144.
พิชญาภา ทองเนตร์. (2563). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=179486