การพัฒนาทักษะการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียน โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

บัวลักษณ์ เพชรงาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวมที่เสริมสร้างทักษะการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะการเขียนสารคดีท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะการเขียนสารคดีท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแนวการสอนภาษาแบบองค์รวม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ตามแบบแผนการวิจัย Pre- Experimental Designs แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อนหลัง One Group Pretest-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านเขียนสารคดีท้องถิ่นตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวมที่เสริมสร้างทักษะการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์มีประสิทธิภาพ 91.91/76.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2)ความสามารถทางการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ ในลักษณะการเขียนสารคดีท้องถิ่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ตามแนวการสอนภาษาแบบองค์รวมที่เสริมสร้างทักษะการเขียนวิเคราะห์สื่อสารอย่างสร้างสรรค์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถด้านการเขียนสารคดีท้องถิ่นของผู้เรียนหลังได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ สูงกว่าก่อนได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

กรรณิการ์ พลยุทธ. (2541). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์เป็นสื่อสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดลาดปลาเค้า กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชัชฎาภรณ์ อักษรดิษฐ์. (2552). การพัฒนาทักษะการอ่าน เขียน ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชวลิต ชูกำแพง. (2553). การวิจัยหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2545). การคิดและการสอนให้ผู้เรียนรู้จักคิด : ความเข้าใจพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วาโร เพ็งสวัสดิ์ิ. (2546). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุวีริยาสาสน์.

วินัย ดำสุวรรณ. (2548). การอ่านคิดวิเคราะห์และเขียน. กรุงเทพมหานคร: เซเวนพริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.

สุจริต เพียรชอบ. (2539). วิธีการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

Halliday, M. A. K. (1978). Language as Social semiotic: The Social Interpretation of Language and Meaning. Baltimore; University Park Press.