การพัฒนาแผนที่เส้นทางในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทยสำหรับ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนที่เส้นทางในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทยสำหรับนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) เพื่อพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนตามแผนที่เส้นทางในการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น และ3) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพของแผนที่เส้นทางในการเรียนรู้สำหรับเสริมสร้างทักษะภาษาไทยตามเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (cluster sampling) จำนวนทั้งสิ้น 189 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะภาษาไทยและแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ (t-test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการพัฒนาแผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทย ประกอบด้วย ขั้นตอน องค์ประกอบ และกิจกรรมเพื่อการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน มีกระบวนการพัฒนา 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การศึกษาความต้องการนักเรียน เนื้อหาวิชา ปรัชญาและจิตวิทยาทางการศึกษา รวมทั้งเกณฑ์ ข้อปฏิบัติระเบียบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางการพัฒนาแผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทย 2) กำหนดหลักการ เป้าหมาย จุดประสงค์ของหลักสูตร การจัดเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน 3) การนำแผนที่เส้นที่สร้างขึ้นไปใช้ และ 4) การวัดผลและประเมินผล
2. ผลการพัฒนาทักษะภาษาไทยของนักเรียนตามแผนที่เส้นทางในการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 189 คน จากการดำเนินการวิจัยมีข้อค้นพบคือ ทักษะภาษาไทยของนักเรียนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการใช้แผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทย มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนความสามารถในทักษะภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลค่าประสิทธิภาพของแผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการทดลองใช้แผนที่เส้นทางและหลังการทดลองใช้แผนที่เส้นทางมีค่าประสิทธิภาพ E1=83.33 ประสิทธิภาพ E2=81.85 ซึ่งยอมรับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดประสิทธิภาพของแผนที่เส้นทางเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
Article Details
References
พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2562. แหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/potarticle/
พิจิตรา ทีสุกะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยใช้วิจัยเป็นฐานวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิรินทิพย์ รักษาสัตย์. (2557). รูปแบบการเรียนการสอนการคิดไตร่ตรองของนักศึกษาครู. วารสารรมยสาร. 12 (1), 57-67.
สนิท ตั้งทวี. (2545). การพัฒนากระบวนการสอน “สร้างอนาคตร่วมกัน” สอนภาษาไทยโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.
สุจริต เพียรชอบ, และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2539). วิธีการสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อัจฉราวดี สวัสดิ์สุข. (2542). กิจกรรมการเขียนสร้างสรรค์ในชั้นประถมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Cooney,T.J, E.J Davis and and K.B Henderson. (1975). Dynamics of Secondary and Mathematics. Boston: Houghton Mifflin Co.
Lasswell, H.D. (1948). The Structure and function of communication in society. In L. Bryson(Ed.), The communication of ideas (pp.37-40). New York : Harper.
Wilkins, D.A. (1976). Notional Syllabus. Hong Kong: Oxford University Press.