การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรียาภัย ที่สอนโดยใช้หนังสือ แบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

ศัสยา เขมะไชยเวช
สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือแบบฝึกทักษะ วิชาภาษาไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่ 80/80      2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะกับการสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรียาภัย จังหวัดชุมพร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564  โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก จำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) หนังสือแบบฝึกทักษะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนแบบปกติ   4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ    ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) หนังสือแบบฝึกทักษะ เรื่อง ลิลิตตะเลงพ่าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.54/82.44 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนด
          2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่สอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะสูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการสอนโดยใช้หนังสือแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กรมวิชาการ .(2551).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

นงเยาว์ ทองกำเนิด. (2560). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ประภาพร เรืองผึ้ง. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาศิลปะรายวิชานาฏศิลป์เรื่องประเภทของการแสดงนาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียนบ้านบุ่งอ้ายเจี้ยม ที่สอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมและการสอนแบบปกติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา https://www.hu.ac.th/conference/conference2021/Proceeding/

เปลื้อง ณ นคร. (2545). ประวัติวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

รวีวรรณ ภู่ประดิษฐ์. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับการสอนแบบปกติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2563Vol12No 1_33.pdf.

วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจิตรา ภู่สวัสดิ์. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการผันวรรณยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนยอ ที่สอนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะและการสอนแบบปกติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www. edujournal.ru.ac.th/AbstractPdf/

อรพรรณ ภูกันหา. (2564). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะกับการเรียนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 5 (2), 400-415.