การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อวิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยบทเรียนมัลติมีเดีย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดียเรื่อง ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาสังคมศึกษา 3 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย โดยวิธีจับสลาก ซึ่งจับสลากได้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 โรงเรียนเทพศิรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) บทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประสิทธิภาพของบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง ประชากรและการตั้งถิ่นฐาน ที่สร้างขึ้น มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.26/80.11 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนมัลติมีเดีย โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กฤติยา ยงประเดิม. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่องโรคและการป้องกันโรค วิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
กัญญา เยี่ยมสวัสดิ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การออกแบบลวดลายและการวาดภาพระบาสีบนแก้วเซรามิกสําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสุรวิทยาคาร อําเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. 12 (2), 33-45.
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันทร์ขาว สายแปลง. (2559). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียร่วมกับชุดทดลองการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 9 (2), 45-53.
ดุสิต ขาวเหลือง. (2549). การบูรณาการใช้สื่อประสมและสื่อหลายมิติเพื่อการสอนและการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์. 18 (1), 29-44.
วินัยธร วิชัยดิษฐ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณอันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (2), 167-180.
ศศิประภา สร้างเขต . (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียในรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. งานประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
ศิริพล แสนบุญส่ง. (2561). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง โปรแกรมค้นหา สำหรับนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดพระขาว (ประชานุเคราะห์) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้. 4 (2), 1-15.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในสาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนเทพศิรินทร์ ปีการศึกษา 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.newonetresult. niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx.
อัจฉราพรรณ ปานศิลา. (2564). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดีย เรื่อง การสร้างงานแอนิเมชั่น. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 11(1), 165-180.
อิสระ ขวาน้ำคำ. (2558). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเรื่องจริยธรรมในโลกของข้อมูล สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 1 (2), 36-42.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์, บุญมี พันธ์ไทย และ สมจิตรา เรื่องศรี. (2559). ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ