การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อประสม ชุด การคูณแสนสนุก กับ การสอนแบบปกติ

Main Article Content

จุฑามาศ แกล้วทนงค์
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อประสม ชุด การคูณแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้สื่อประสม กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน โรงเรียนบ้านทุ่งศาลา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้วิธีการสอนโดยใช้สื่อประสม จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 15 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) สื่อประสม ชุด การคูณแสนสนุก (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent)
          ผลการวิจัยพบว่า
          (1) ประสิทธิภาพของสื่อประสม ชุด การคูณแสนสนุก กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 75.40/76.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
          (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การคูณ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้สื่อประสม สูงกว่านักเรียนที่สอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วน จำกัดอรุณการพิมพ์.

จันทิมา แตงทอง.(2559).กิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส โดยการใช้สื่อประสมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนิกา บัวเผียน. (2556). การสร้างสื่อประสมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ชลทิชา ต่อจรัส. (2557). ผลการใช้สื่อประสมประกอบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง สำหรับนักเรียนชันมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัชพร จารุอินทร์. (2559). การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ธนศักดิ์ แสนสำราญ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนและการจัดหมู่ โดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศบดินทร เดชา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ธเนศ อินเมฆ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการบวกและการลบจำนวนเต็มโดยการใช้สื่อประสม โรงเรียนวรราชาทินัดดา มาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรัชญกุล ตุลาชม. (2558). การพัฒนาสื่อประสม เรื่องภาวะโลกร้อน เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์.

ปัทมวรรณ สุวรรณรุ่ง.(2561).การพัฒนาชุดสื่อประสมเสริมทักษะเพื่อพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ ด้านการสังเกตสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนวัดแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยนุช อามาตย์. (2559). การวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยสื่อประสม เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งทิพย์ มีสำลี. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนศิลปะโดยใช้สื่อประสม .วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รุ่งอรุณ พรเจริญ และอัมภาภรณ์ พีรวณิชกุล. (2561). การพัฒนาชุดสื่อประสมโดยการผสมผสานการเรียนรู้แบบทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาสำหรับนักศึกษาทางสาขาวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วิชชุลดา ชัยชมภู. (2560). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง เงิน โดยใช้สื่อประสมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดป่าตัน อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สกสค. ลาดพร้าว.

สิริธิดา สารีบท. (2561). การพัฒนาทักษะการเขียนของสามเณรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสมในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.