รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 73 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 2 ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 73 คน และนักเรียน จำนวน 252 คน ระยะที่ 4 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะกรรมการบริหารโรงเรียน รวมทั้งสิ้น จำนวน 32 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีองค์ประกอบ 5 ประกอบด้วย ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) วิธีการดำเนินงานของรูปแบบโดยมีระบบและกลไกของการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการกำกับติดตามประเมินผล ประกอบด้วย การดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการ ประกอบด้วย การบริหารหลักสูตรและการวัดประเมินผล การบริหารจัดการกลุ่มสาระการเรียนรู้ การบริหารจัดการสื่อ/แหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ (2) ด้านครูผู้สอน ประกอบด้วย การสร้างความตระหนักและแรงจูงใจ การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน และการส่งเสริมให้ครูและบุคลากรพัฒนาตนเอง และ (3) ด้านนักเรียน ประกอบด้วย การพัฒนาด้านวิชาการ การพัฒนาด้านร่างกาย และ การพัฒนาด้านจิตใจ/คุณธรรม 4) การวัดและการประเมินผล และ5) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์ มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กมล รอดคล้าย. (2560). บทบาทการศึกษากับการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0. เอกสารทางวิชาการ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม2561. แหล่งที่มา: http://www.bsru.ac.th/identity/archives/2685.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: อิโนกราฟฟิค.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). ยอดกลยุทธ์การบริหารสำหรับองค์การยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2555). ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: แซทไฟร์ปริ้นติ้ง.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). การบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษาเรื่อง "รูปแบบและองค์ประกอบของ
รูปแบบ". อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
พศวัต สาระอาวาส. (2564). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียนพระราชทานขนาดเล็ก
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์: แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบ
ทางการแข่งขัน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พรินท์ (1991) จำกัด.
มิญช์มนัส วรรณมหินทร์ สลางสิงห์. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาโรงเรียนสุขภาวะในโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและ
พัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). ผลการประเมิน PISA 2018: นักเรียนไทยวัย
ปี รู้และทำอะไรได้บ้าง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา: https://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2019-48/
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธิ์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์.
สมาน อัศวภูมิ. (2549). การศึกษาและสังเคราะห์รูปแบบการบริหารสถานศึกษา การพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาและสถานศึกษาเครือข่ายของผู้บริหารสถานศึกษาต้นแบบ รุ่นที่ 1. กรุงเทพมหานคร:
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
สวัสดิ์ วันภูงา. (2564). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). โรงเรียนรางวัลความเป็นเลิศของครูและโรงเรียน
ประเทศฮ่องกง. The Outstanding Teac hears and School Awards: HK. (Consultation
Document).
อร่าม วัฒนะ. (2561). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัด. วิทยานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
Keeves, J.P. (1997). Models and model building. In Keeves, J.P. (ed.). Educational research,
methodology and measurement: An International Handbook. 2""cd., Oxford: Peraman Press.
Singapore. Ministry of Ministration. (2000). The school excellence model: A guide Singapore.
Singapore: The School Appraisal Branch, Schools Division, Ministry of Ministration.
Wheelen, T. L., & Hunger, D. J. (2012). Strategic competency and measured performance
outcomes. Journal of Workplace Learning, 10 (5), 219-23 1.