การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

กาญจนา ชัยวิมล
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน กับการสอนแบบปกติ เรื่องเศษส่วน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำพุ อำเภอเมืองฯ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 40 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้วิธีการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน จำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมโดยใช้วิธีการสอนแบบปกติ  จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน (2) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องเศษส่วน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน ที่มีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับ 0.79 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน เรื่องเศษส่วน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.47/76.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
          (2)  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดสนุกคิดเศษส่วน เรื่องเศษส่วน สูงกว่านักเรียนที่สอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณภิรมย์ จารุสวัสดิ์ และคณะ. (2550). หนังสืออิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติมา พลเทพ. (2560). พฤติกรรมการอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย.

วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขัตติยา วงศ์ษาแก่นจันทร์. (2563). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เรื่อง การใช้โปรแกรม

Paint.Net สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

คธาวุธ ศรียา. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เสริมการเรียน เรื่องมวยไทยโบราณลพบุรีสำหรับ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา

บัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ชนารดี พิพัฒน์มงคลชัย. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง โภชนาการของนักกีฬา สำหรับ

นักกีฬา โครงการพัฒนากีฬาจังหวัด (Sports Hero) จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์การศึกษา

มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชวลิต เข่งทอง. (2560). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง สื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร:

สำนักพัฒนาเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ณรงค์ ชุมแวงวาปี. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นงนุช สลับศรี. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบการ์ตูนเรื่องคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8

ประการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนดำรงธรรม จังหวัดชลบุรี.

วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บาหยัน จรรยาพิลาทิพย์. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบสมองเป็นฐานโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ประกอบกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.

วิทยานิพนธ์ครูศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญญิสา แซ่หล่อ. (2562). คณิตศาสตร์ศึกษา การเรียนรู้เพื่อชีวิต. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เเดเน็กซ์ อินเตอร์

คอปอเรชั่น จำกัด.

ปฏิวัติ วิชาวงษ์. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง รู้ทัน Cyberbullying โดยใช้กรณีศึกษา

สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต.

บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปาลิตา รัตนโอภา. (2561). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับวิธีการสอนแบบสาธิต วิชาอุตสาหกรรม

เครื่องหนัง สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ปิยะฉัตร แสงงาม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับหนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ หน่วยการเรียนรู้ รักษ์สุขภาพ รายวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พระมหาวรเมธ ฐานวฑฺฒโก. (2561). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง หลักธรรมนำชาวพุทธ สำหรับ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดมงคล อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมวิกา บุญเชย. (2564). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง Adjectives สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี

ที่ 4 โรงเรียนสระหลวงพิทยาคม. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วารุณี คงวิมล. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการ

สอน สำหรับครูระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิไลวรรณ เจือทอง. (2560). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาท้องถิ่นของเราชาวลพบุรี กลุ่มสาระการ

เรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์

ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ศศิวิมล อินทปัตถา. (2560). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโยนิโสมนสิการร่วมกับการใช้หนังสือ

อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.

วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

หฤษฎ์ วาสนจิตต์. (2562). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ผสนาเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมแบบ 3 มิติ

เรื่องการจัดไฟในการถ่ายภาพโฆษณา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.