การศึกษาความสัมพันธ์การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร

Main Article Content

ชาลิดา วงศ์ใหญ่
อดุลย์ วังศรีคูณ

บทคัดย่อ

          การศึกษาความสัมพันธ์การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตรครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร รวมทั้งสิน 259 คน ซึ่งการศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. การใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ พลังอำนาจการให้รางวัล รองลงมา คือ พลังอำนาจการบังคับ และพลังอำนาจความเชี่ยวชาญ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านพลังอำนาจตามกฎหมาย
          2.ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การได้รับการยอมรับนับถือ และความก้าวหน้าในงาน รองลงมา คือ ความสำเร็จในการทำงาน และลักษณะของงานที่ปฏิบัติ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความรับผิดชอบ
          3. ความสัมพันธ์ของการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก และส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับสมมติฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
          4. แนวทางการพัฒนาผู้บริหารควรมีการพัฒนาทักษะความสามารถของตนเองให้สูงขึ้น เพื่อที่จะนำมาถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ครูผู้สอนและบุคลากรในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาทักษะทางด้านการบริหารจัดการและวางแผนการปฏิบัติงานได้อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครูผู้สอนเกิดความพึงพอใจที่ผู้บริหารได้ประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่เหมาะสม และปฏิบัติงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบได้อย่างเต็มความสามารถ ควรประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูผู้สอนและบุคลากรในสถานศึกษา เพื่อเป็นที่ประทับใจของครูผู้สอนและบุคลากรอื่นๆ อีกทั้งสามารถบริหารให้ครูผู้สอนมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวได้ สามารถทำให้ผู้อื่นชื่นชมและนำไปเป็นแบบอย่างได้ ทำให้ครูผู้สอนสามารถประพฤติตนไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติภัทร โสภิตวราทร. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังอำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขต อำเภอขลุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐชา มังกะลัง. (2560). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการใช้อำนาจของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2552). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา สัตยธรรม. (2550). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา : บริษัทวาย เอช เอส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เพ็ญศรี คมขำ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้พลังงานของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ระดมพล ช่วยชูชาติ. (2555). แนวคิดในการบริหารจัดการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.radompon.com/weblog/?page_id=113.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2556). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 7 (1), 1-7.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552 - พ.ศ. 2559) : ฉบับสรุป. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร. (2560). รายงานประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจังหวัดพิจิตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://bme.vec.go.th/รายงานประจำปีสอศ.aspx.

อิศรา อยู่ยิ่ง. (2560). การศึกษาสภาพการดำเนินงานวิชาการของสถานศึกษาในจังหวัดพิจิตร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. การค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

French, J. R. P., and Raven B. H. (2001). The Bases of Social Power Group Dynamics. New York: N.Y.

Herzberg, F. (1970). The Motivation-Hygiene Theory in V.H. Vroom and E.L. Deci(Eds), Management and Motivation. Valtimore, MD: Penguin Books.

Kanter, R. M. (1979). Power Failure in Management Circuits. Harvard Business Review. 57 (2), 65-75.

McCleland, D. C. (1961). The Achieving Society. New York: D. Van Nostrand.