ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริการการศึกษา : กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กุสุมา แย้มเกตุ
ทิพวรรณ เดชสงค์
ณิชาภัทร จาวิสูตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริการการศึกษาและเพื่อศึกษาแนวโน้มความพึงพอใจของผู้รับบริการระหว่างปีการศึกษา 2560 – 2562
          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นผู้เข้ารับบริการ ได้แก่บุคลากรสายวิชาการ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป โดยเก็บข้อมูล ระหว่างปีการศึกษา 2560 -2562 จำนวน 1,137 คน ใช้วิธีการเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย แบบสอบถามที่ใช้เป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ตามวิธีของลิเคิร์ท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริการการศึกษา :กรณีศึกษา สถาบันอุดมศึกษาแห่งหนึ่ง เขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2560 มีความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมาก ยกเว้นในกลุ่มศิษย์เก่าและกลุ่มบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ปีการศึกษา 2561 พบว่าทุกกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ปีการศึกษา 2562 พบว่าทุกกลุ่มของผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก แนวโน้มความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการของกองบริการการศึกษาระหว่างปีการศึกษา  2560 – 2562 มีแนวโน้มความพึงพอใจเพิ่มขึ้น โดยที่กลุ่มของศิษย์เก่าและบุคคลทั่วไปมีความพึงพอใจจากระดับปานกลางเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม วัฒนชัย. (2542). การปฏิรูปการศึกษาไทย 2542 - 2545. วารสาร มฉก วิชาการ. 3 (5), 3-6.

จิตตินันท์ นันทไพบูลย์.(2551). ศิลปะการให้บริการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน บมจ.

จุฑาภรณ์ คำโยคและคณะ. (2559). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการโรงพบาลทันตกรรม คณะทันตแพยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 3 (2), 93-108.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหาคร: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะ อุทาโย. (2543). การสร้างมาตรวัดความพึงพอใจของประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.

พิชญา หอมหวน และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐต่อการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 38 (5), 80-98.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช .(2543). จิตวิทยาการบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ลัคนา ฤกษ์ศุภผล. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อคลินิกส่งเสริมสุขภาพโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 18 (3), 145-159.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. 2550. กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปีฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gronroos, C. (1990). Service Quality: The six Criteria of Good Service Quality. Review of Business 3. New York: St. John’s University Press.

Millet, John D. (1954). Management in the Public Service. New York: McGraw-Hill.