กระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงาน ในการวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 161 คน และครู จำนวน 159 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 320 คน ปีการศึกษา 2564 โดยผู้บริหารสถานศึกษาได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และครูได้มาจากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษากระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวางแผนการนิเทศ รองลงมาคือ ด้านการปฏิบัติการนิเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการในการนิเทศ และด้านการประเมินผลและแก้ไขปรับปรุงการนิเทศ
2. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า ตำแหน่งที่แตกต่างกันมีกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ในภาพรวมและรายด้าน พบว่า ประสบการณ์ในการทำงานที่แตกต่างกันมีกระบวนการนิเทศภายในสถานศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
ปัทมา เจริญลักษ์. (2558). การศึกษาสภาพการดำเนินงานนิเทศภายในของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมธินี สะไร. (2559). การนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสหพัฒนา อำเภอรือเสาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 1. การค้นคว้าอิสระ ค.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
สัมมา รธนิธย์. (2556). หลัก ทฤษฎีและปฏิบัติการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง.
จิติมา วรรณศรี. (2557). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). การนิเทศการสอน: Supervision of Instruction. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พุทธชาด แสนอุบล. (2560). สภาพ ปัญหา และแนวทางการปรับปรุงการนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เปรมฤดี รักษา. (2555). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครูผู้สอน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิริวรรณ อานันทสิทธิ์. (2545). การนิเทศเชิงระบบ. วิทยาจารย์. 101 (1), 18-20.
ธวัชพงษ์ รู้บุญ. (2552). สภาพและปัญหาการนิเทศการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
อาหามะ ดือเร๊ะ. (2555). การบริหารงานนิเทศภายในของผู้บริหารสถานศึกษา สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.
เกรียงเลิศ ติรธรรมเจริญ. (2544). การศึกษาสภาพการดำเนินการปัญหาและอุปสรรคการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันราชภัฏธนบรี.
พัทธ์ธีรา โยธราช. (2559). การดำเนินงานและแนวทางพัฒนาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.