การบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาแนวทางการบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA การวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบผสม คือมีทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา หรือครูผู้รับผิดชอบงานสารสนเทศ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 331 คน โดยใช้วิธีการแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและหาสัดส่วนเพื่อสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้จำนวนสถานศึกษาที่ครอบคลุมทุกขนาดสถานศึกษาและทุกเขตพื้นที่การศึกษา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารระบบสารสนเทศของสถานศึกษาศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการดำเนินการ ด้านการวางแผน ด้านตรวจสอบ และ ด้านการปรับปรุงพัฒนา ตามลำดับ และ2) แนวทางการบริหารระบบข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเพื่อการจัดการที่ยั่งยืนของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามกระบวนการคุณภาพ PDCA ได้แก่ 1) ด้านการวางแผน ควรมีวางแผนการเข้าใช้งานระบบ/เปิดแก้ไขข้อมูลอย่างน้อย 1 ครั้ง / ปีการศึกษา และต้องสำรวจความต้องการในการใช้สารสนเทศของสถานศึกษาให้ครอบคลุมทุกด้าน สร้างความตระหนักในการใช้สารสนเทศโดยนำสารสนเทศไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสถานศึกษา 2) ด้านการดำเนินการ ควรมีการเพิ่มช่องทางหรือจำนวนผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต เพื่อลดหรือกระจายความเสี่ยงในการเข้าถึงระบบอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่ในโรงเรียนจะมีผู้ให้บริการเพียงรายเดียว และพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบสารเทศที่เข้าถึงง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน มีสารสนเทศที่หลากหลายสนองความต้องการของผู้ใช้งานในทุกระดับ 3) ด้านการตรวจสอบ การพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีระดับของการเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นเฉพาะการใช้งานโดยให้ผู้ดูแลระบบระดับสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการใช้งานตามบริบทของสถานศึกษา กำกับติดตามและการพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง4) ด้านการปรับปรุง/พัฒนา ควรเพิ่มให้มีผู้รับรองข้อมูลโดยผู้ดูแลระบบของสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดรายชื่อผู้ที่สามารถรับรองข้อมูลท้ายตารางได้และปรับปรุงพัฒนา เมื่อมีการดำเนินการตามวงจรคุณภาพ PDCA แล้วเมื่อถึงขั้นตอนสุดท้ายคือปรับปรุงพัฒนา กรณีที่ปรากฏว่าตรวจสอบแล้ว ผลงานไม่บรรลุหรือไม่สอดคล้องกับเป้าหมายก็ให้ปรับปรุงใหม่ ก็จะเริ่มมีเข้าสู่วงจรคุณภาพ PDCA เกิดการวางแผนในการดำเนินการใหม่ต่อไป
Article Details
References
จิรา เท็กเชย. (2559). ความต้องการในการจัดระบบสารสนเทศเพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา.10 (2), 359-367.
ดวงใจ วงศิลา. (2559). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการจัดระบบสารสนเทศในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาบริการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา
ธีระนุช จันทร์กองแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแหล่งเรียนรู้ศูนย์วัฒนธรรมโรงเรียน สันกำแพง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่โดยใช้กระบวนการคุณภาพ PDCA. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
นัฐรักษ์ อรุณทัต.(2560). แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน กรณีศึกษา โรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยาศาตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ภานุมาศ บุตสีผา, สุขสถิต มีสถิต และ สมบูรณ์ ชาวชายโขง. (2561). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการ จัดการข้อมูลหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎ สกลนคร. 15 (68), 140–146.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.