การประเมินผลการดำเนินโครงการสอบธรรมศึกษาของวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินโครงการสอบธรรมศึกษาของวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และเสนอแนะการพัฒนาการสอบธรรมศึกษาของวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง และ (3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการประเมินด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ของโครงการสอบธรรมศึกษาของวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการศึกษาเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการสอบธรรมศึกษา จำนวน 400 คน กำหนดความคลาดเคลื่อนที่ระดับ 0.05 โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 20 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า (1) การประเมินโครงการสอบธรรมศึกษา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และ ด้านผลผลิต (Product) ในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 3.98, S.D. = .927) และเมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) สำหรับปัญหา อุปสรรคพบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า บุคลากรบางส่วนยังไม่มีความรู้ที่เพียงพอ ด้านบริบท การกำหนดเวลาในการเรียนภาษาบาลีสั้นเกินไป ด้านกระบวนการ ยังใช้วิธีการสอนแบบเดิมไม่ทันต่อสถานการณ์ ด้านผลผลิตคนเรียนส่วนหนึ่งยังไม่มีความรู้เพียงพอ
(-) (3) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความคิดเห็นปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อโครงการสอบธรรมศึกษาของวัดเสมียนนารี พระอารามหลวง พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นธรรมศึกษา จำนวนครั้งที่สอบ และแรงจูงใจ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อโครงการในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) จุดแข็งในการดำเนินโครงการ คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนด้านพระพุทธศาสนาได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น หลักสูตรธรรมศึกษาช่วยส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของผู้เรียน เนื้อหาของหลักสูตรธรรมศึกษาน่าสนใจ นำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และการบริหารจัดการโครงการสอบธรรมศึกษามีหน่วยจัดสอบครอบคลุม สะดวกทั่วถึง
Article Details
References
กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2549). ธรรมศึกษาชั้นเอก ฉบับปรับปรุงใหม่ที่ประกาศใช้ในปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
ณัฐวรรณ แย้มละมัย. (2560). การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตีย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เทียนสิน ทบศิลป์. (2538). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมข้าราชการ ชีวิตดีมีคุณค่าของสำนักงาน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พระมหาปรีชา สาเส็ง และคณะ. (2560). ประสิทธิผลการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตอาสาใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (3), 23-34.
พระมหาสุรชาติ สิริเตโช. (2556). ความคิดเห็นต่อการเรียนธรรมศึกษาของนักเรียนในเขตตำบลหนองแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 2 (1), 1-12.
Stufflebeam, D.L. and Shinfield, A.J. (2007). Evaluation theory, models and applications. San Francisco : Jossey-Bass.