บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยวชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนวัดศรีมงคล จังหวัดน่าน

Main Article Content

ธนวัฒน์ วะละ
สุภานี นวกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนวัดศรีมงคลขององค์การบริหารส่วนตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการ  การท่องเที่ยวชุมชนวัดศรีมงคลอย่างยั่งยืน และ (3) สร้างสมการถดถอยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการการท่องเที่ยวชุมชนวัดศรีมงคลอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม สมาชิกชุมชนวัดศรีมงคล และนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น จำนวน 775 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย
          ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทองค์การบริหารส่วนตำบลในการส่งเสริมการบริหารจัดการท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ยภาพรวม พบว่าองค์การบริหารส่วนตำบลยมมีบทบาทอยู่ในระดับมาก (  =  3.77)  และเมื่อพิจารณารายด้านแล้วพบว่า องค์การบริหารส่วนตำบลยมมีบทบาทอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน มีทั้งสิ้น 7 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม (SUS1) ด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ (SUS2) ด้านการส่งเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ (SUS3) ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (SUS4) ด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ (SUS5) ด้านการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ (SUS6) และด้านการสร้างและพัฒนากลไกการบริหาร (SUS7)  และ (3) เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้ 


Y = 2.24 -.05 (SUS1) + .29 (SUS2) + .07 (SUS3) + .05 (SUS4) + .13 (SUS5) -.050 (SUS6) -.04 (SUS7)


Z= -.07 (SUS1) + .65 (SUS2) + .13 (SUS3) + .08 (SUS4) + .19 (SUS5) -.070 (SUS6) -.06 (SUS7)


       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชธมน วงศ์คำ. (2562). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านหัวขัว ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.. (2564). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศรายจังหวัด ปี 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2564. จาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=630

กระทรวงมหาดไทย. (2549). มาตรฐานการส่งเสริมการท่องเที่ยว. กรุเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

จุฬา เจริญวงค์. (2558). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ณัฐวรา สะอา. (2558). บทบาทขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล. สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์. 15 (2), 131-151.

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

เบญจพร ศิริลาภธรรม. (2560). ผลกระทบของปัจจัยที่มีต่อระดับความต้องการใช้บริการ Outsourcing ด้านบัญชีของผู้ประกอบการนิติบุคคลขนาดกลางและขนาดย่อม ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุชาดา ธโนภานุวัฒน์. (2561). การส่งเสริมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนเส้นทางท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สุรินทร์ หลวงนา และคณะ. (2550). โครงการวิจัยการพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของภาครัฐและเอกชนในเขตจังหวัดอีสานใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

องค์การบริหารส่วนตำบลยม. (2564). สถานที่สำคัญในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม อำเอท่าวังผา จังหวัดน่าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.tambonyom. go.th/index/? category=menu8254&show_type=1

Morm Savonn. (2018). A Study of the Community Based Tourism for Successful Implementation in Banteay Chhmar Temple, Cambodia. Master of Business Administration. Siam University.

Quan, Son. (2017). A study of the strategy and ecotourism development of Phu Quoc National Park in Kien Giang Province, Vietnam. Master of Business Administration. Siam University.