สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

Main Article Content

พิชัยรัฐ หมื่นด้วง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 2. ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น 3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหารกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู และ 4. ศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำนวน 119 คน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรตาม โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับสมรรถนะของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สมรรถนะของผู้บริหารกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4. สมรรถนะของผู้บริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ได้แก่ ด้านความมีวิสัยทัศน์ และด้านการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .925 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 85.50 (R2=.855)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). หลักการเลือกใช้เทคนิคทางสถิติในงานวิจัยพร้อมทั้งอธิบายผลลัพธ์ที่ได้จาก SPSS. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุฑาทิพย์ สุจริตกุล. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในยุคประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษา: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดภูเก็ต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (10), 4930-4943.

ชัยวุฒิ วรพินธุ์ และคณะ. (2557). คุณลักษณะภาวะผู้นำยุคใหม่กับสมรรถนะการบริหารงานแบบมืออาชีพของปลัดเทศบาลในภาคกลาง. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19 (1), 86-96.

ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู. (2556). ประวัติความเป็นมาของหนองบัวลำภู. หนองบัวลำภู: ท้องถิ่นจังหวัดหนองบัวลำภู

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล, ไพบูลย์ ช่างเรียน และติน ปรัชญพฤทธิ์. (2563). สมรรถนะของผู้บริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 5 (2), 174-189.

พรเทพ โฆษิตวรวุฒิ, ธรรมนิตย์ วราภรณ์ และวีระศักดิ์ จินารัตน์. (2563). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับประสิทธิผลขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4 (1), 249-258

วิสุทธิณี ธานีรัตน์. (2561). สมรรถนะของผู้นำเทศบาลเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2561 (หน้า 125 - 134). สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2554). ตัวแบบสมรรถนะผู้นำเชิงยุทธศาสตร์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ .

สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์. (2561). อิทธิพลของพฤติกรรมผู้นำ ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลต่อสมรรถนะการบริหารงานของผู้นำในยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา.

สมพร วัชรภูษิต. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13 (1), 383-401.

สุภานัน ดวงสว่าง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะของผู้นำยุคใหม่ในการบริหารงานเทศบาลเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 13 (1), 283-296.

Bernad M Bass. (1999). Two decades of research and development in transformational leadership. European Journal of Work and Organiza tional Psychology. 8 (1), 9-32.

McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist. 28 (1), 1-14.