แนวคิดความฉลาดรู้เรื่องภาพในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สง่า วงค์ไชย
กมลพัทธ์ ใจเยือกเย็น

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความฉลาดรู้เรื่องภาพ (visual literacy) เพื่อเป็นแนวทางประยุกต์ใช้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดรู้เรื่องภาพให้แก่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งระดับความฉลาดรู้เรื่องภาพแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับจำแนก ได้แก่ สังเกตและวิเคราะห์ 2) ระดับบูรณาการ ได้แก่ เชื่อมโยงประสบการณ์ของตนเองกับสิ่งที่มองเห็น สรุปข้อมูลจากสิ่งที่มองเห็น และนำเสนอข้อมูลสิ่งที่มองเห็นอย่างสร้างสรรค์ กระบวนการส่งเสริมความฉลาดรู้เรื่องภาพมี 3 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับเรียนรู้จากสิ่งที่มองเห็น 2) คิดจากสิ่งที่มองเห็น และ 3) นำเสนอข้อมูลจากสิ่งที่มองเห็น สื่อการเรียนรู้ที่นำมาพัฒนาความฉลาดรู้เรื่องภาพ แบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ 1) หนังสือภาพ และหนังสือการ์ตูน 2) ป้ายร้านค้า ป้ายโฆษณา หรือโปสเตอร์ 3) ละครและภาพยนตร์ 4) หนังสืออ่านนอกเวลา และ 5) เครือข่ายสังคมอนไลน์ สาระสำคัญทั้งหมดนี้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะด้านความฉลาดรู้เรื่องภาพที่ส่งเสริมทักษะการสังเกต กระบวนการคิดวิเคราะห์ ไตร่ตรอง และประเมินค่าจากสิ่งที่มองเห็น เพื่อใช้เป็นทักษะสำคัญในการพัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิดานันท์ มะลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัณฑิรา กัณหาไชย และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านแบบ 5E ร่วมกับกระบวนการออกแบบอินโฟกราฟิกเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และการรู้ทางทัศนะสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Information and Learning,.31 (3), 25-36.

รัตตมา รัตนวงศา, ประกอบ กรณีกิจ และปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2563). การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางทัศนะในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 48 (2), 225-240.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดฉลาดรู้ (literacy) ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักราชบัณฑิตยสถาน.

ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2558). การยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ (SNS) ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย (Gen Y). สุทธิปริทัศน์. 29 (92), 65-79.

สถาบันภาษาไทย. (2560). แนวทางการจัดการเรียนรู้หนังสืออ่านนอกเวลา สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ.

Arizpe, E & Styles, M. (2016). Children reading picture books: interpreting visual texts. New York: Routledge.

Barbara, G. D. (2009). Tools for teaching. San Fracisco: Jossey-Bass.

Bearne, E & Wolstencroft, H. (2007). Visual approaches to teaching writing. London: Paul Chapman Publishing.

Bruhn, M & Dünkel, V. (2009). The Image as Cultural Technology in Visual literacy. edited by Jim Elkins. New York: Routledge.

Galsworth, D.G. (2017). Visual workplace visual thinking. Boca Raton: CRC Press.

Gibbons, P. (2015). Scaffolding language scaffolding learning: Teaching English language learners in the mainstream classroom. NH: Heinemann.

Goldstein, B. (2016). Visual literacy in English language teaching: Part of the Cambridge Papers in ELT series. Cambridge: Cambridge University Press.

Guinibert, M. (2020). Learn from your environment: A visual literacy learning model. Australasian Journal of Educational Technology. 36 (4), 173-188.

Junco, R. (2014). Engaging students through social media: evidence-based practices for use in student affairs. San Francisco: Jossey-Bass.

Kist, W. (2010). The socially networked classroom: teaching in the newmedia age. California : Corwin.

Machado, J. M. (2013). Early childhood experiences in language arts: Early literacy. Wadsworth: Cengage Learning

Reed. S. K. (2010). Thinking visually. New York: Psychology Press.

Stafford, T. (2011). Teaching visual literacy in the primary classroom: comic books, film, television and picture narratives. New York: Routledge.

Supsakova, B. (2016). Visual literacy for the 21st century. IJAEDU. 2 (5), 202-208.

Savić, V. (2020). Visual literacy for young language learners: Mutimodel textes in content-based instruction.