กลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ตามหลักสาราณียธรรม

Main Article Content

รัฐพล ต่วนชะเอม

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ 2) การบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ศึกษาวิเคราะห์ในเชิงเอกสาร และใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์ กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 40 รูป/คน
          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและอุปสรรคในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ  คือ คณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ (เถ่านั้ง) อยู่ในวาระเพียง 1 ปี ทำให้การบริหารงานไม่ต่อเนื่อง และปัญหาในด้านกระบวนการในการบริหารจัดการ 2) กระบวนการในการบริหารจัดการ ของคณะกรรมการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ บริหารโดยการมีส่วนร่วมของคณะทำงานทุกฝ่ายซึ่งเกิดจากความสามัคคีในการทำงานร่วมกันแสดงแนวคิดและวิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจัดงานด้วยการบูรณาการระหว่างภาคีเครือข่าย การช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยสนับสนุนงบประมาณในการจัดงานฯ    ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วพบว่า หลักธรรมที่แฝงไว้ในกิจกรรมดังกล่าว เป็นหลักธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันนั้นก็คือหลักสาราณียธรรม3) กลยุทธ์ในการบริหารจัดการงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ตามหลักสาราณียธรรม ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลสำคัญโดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ คือ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ในการพัฒนาการจัดงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ ให้สามารถส่งเสริมและ ต่อยอดการท่องเที่ยวสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้มิติทางศาสนาและวัฒนธรรมมาเชื่อมโยงสู่ความเป็นเลิศ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนพล วิวัฒน์พาณิชย์ (2553). การสื่อสารเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนผ่านเทศกาล ตรุษจีนปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.

พัชรี ดินฟ้า. (2557). ประเพณีความเชื่อการแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากนํ้าโพในปัจจุบัน ที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีน ตำบลปากนํ้าโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 9 (2), 52-56.

สุชาติ แสงทอง. (2560). นครสวรรค์ศึกษา : บันทึกเรื่องราวคนจีนปากน้ำโพ. งานวิจัย. สำนักศิลปะและวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อภิพันธ์ ภคสกุลวงศ์ (2555). ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้าใจความหมายของประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.