การศึกษาการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่อง “รักเรา รักษ์โลก” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

Main Article Content

ยุวธิดา อัคฮาด
วีระยุทธ จันลา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ และ (3) เพื่อศึกษาความคงทนต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านบทเรียนออนไลน์เรื่อง “รักเรา รักษ์โลก”  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) จำนวน 84 คน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) บทเรียนออนไลน์แบบบูรณาการเรื่อง “รักเรา รักษ์โลก” (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t-test for dependent
          1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านบทเรียนออนไลน์เรื่อง “รักเรา รักษ์โลก” สูงกว่าก่อนเรียนโดยมีคะแนนเฉลี่ย ( =22.37) คิดเป็นร้อยละ 89.48 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.78  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          2) ผลการวัดความพึงพอใจของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการผ่านบทเรียนออนไลน์ เรื่อง “รักเรา รักษ์โลก” มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ระดับมาก ( = 4.27)
          3) ผลการวัดความคงทนทางการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาผ่านบทเรียนออนไลน์เรื่อง“รักเรา รักษ์โลก” หลังสิ้นสุดการทดลองไปแล้ว 4 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 66.48 มีค่าความคงทนในการเรียนรู้คิดเป็นร้อยละ 12.52 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศูนย์พัฒนาหนังสือ.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการปฏิบัติสำหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. สมุทรปราการ: โรงพิมพ์พงษ์วรินการพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอสพริ้นติ้งไทยแฟคตอรี่.

พงศ์ทัศ วนิชานันท์. (2563). การศึกษาพื้นฐานในยุคโควิด-19: จะเปิด-ปิดโรงเรียนอย่างไร?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา https://tdri.or.th/2020/05/basic-education-in-covid-19-crisis-reopening-school-after-lockdown/

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2555). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพโรจน์ ตีรณธนากุล, ไพบูลย์ เกียรติโกมล และเสกสรร แย้มพินิจ.(2546). การออกแบบและการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์การสอน สำหรับ e-Learning. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม). (2553). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายประถม) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พุทธศักราช 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุรีริยาสาส์น.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). ผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ ด้วยกระบวนการห้องเรียนกลับด้าน. วารสารศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศักดิ์สิทธิ์ เหมแก้ว. (2560). รายการวิจัย ผลของการจัดการเรียนรู้การสอนวิทยาศาสตร์ด้วยรูปแบบการสืบสวนแบบโต้แย้งที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความคงทนในการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Brown, S. (2020). Teaching Science Methods Online during COVID-19: Instructor's Segue into Online Learning. Electronic Journal for Research in Science & Mathematics Education, 24 (3), 14-18.

Ivan, R., & Glonti, M. (2019). Improving the Teaching-Learning Process of Geography by Integrating Online WebGIS Applications. Romanian Review of Geographical Education, 8 (2), 5-20.

Tay, L. Y., Lee, S. S., & Ramachandran, K. (2021). Implementation of Online Home-Based Learning and Students’ Engagement During the COVID-19 Pandemic: A Case Study of Singapore Mathematics Teachers. The Asia-Pacific Education Researcher, 30 (3), 299-310.