การจัดทำแผนที่ของแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

โศจิลักษณ์ กมลศักดาวิกุล
นเรนทร์ แก้วใหญ่
ฌาวีรัชญ์ พรศิยาวรัญญ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจ และจำแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา  2) วิเคราะห์มาตรฐานความเป็นแหล่งการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา 3) จัดทำแผนที่ของแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา และ 4) ศึกษาปัญหาการบริหารแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม สำนักงานเขตบางนา และผู้ดูแลแหล่งการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 9 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสำรวจและแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 
          ผลการวิจัยพบว่า 1) แหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนามีทั้งสิ้น 8 แห่ง 4 ประเภท แบ่งเป็น พิพิธภัณฑ์ 3 แห่ง คือ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางนา พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้อุตุนิยมวิทยา และพิพิธภัณฑ์กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ห้องสมุดประชาชน 2 แห่ง คือ บ้านหนังสือชุมชนนิติบุคคลอาคารชุดเคหะชุมชนบางนา และบ้านหนังสือชุมชนหมู่บ้านไพโรจน์ ศูนย์กีฬาและนันทนาการ  2 แห่ง คือ ศูนย์เยาวชนบางนา และสนามกีฬาภูติอนันต์ และ สวนสาธารณะ 1 แห่ง คือสวนบางนาภิรมย์ 2) แหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนาทั้ง 8 แห่งมีมาตรฐานของความเป็นแหล่งการเรียนรู้ครบถ้วนทั้ง 7 องค์ประกอบคือ มีสถานที่เรียนรู้ แหล่งที่มาของความรู้/เนื้อหาความรู้ กระบวนการเรียนรู้ ผู้จัดการเรียนรู้ ผู้เรียน อุปกรณ์ในการเรียนรู้ และ การประเมินผลการเรียนรู้ 3) การจัดทำแผนที่แหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา ปรากฏแหล่งการเรียนรู้ตั้งอยู่ในแขวงบางนาเหนือ 2 แห่งและตั้งอยู่ในแขวงบางนาใต้ 6 แห่ง  4) ปัญหาการบริหารแหล่งการเรียนรู้ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร คือ ปัญหาด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษฎา ตัสมา. (2560). การจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารศิลปะศาสตร์ปริทัศน์. 12 (24), 70-84.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

ครรชิต พุทธโกษา. (2554). คู่มือการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

จารุณี แก้วประภา. (2561). กลยุทธ์การดำเนินงานบ้านหนังสือชุมชน เพื่อส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับนักศึกษากศน. และประชาชนทั่วไปของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเชียงม่วน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://online. anyflip.com / fibtb/djmz/mobile/index.html

พิสิษฐ์ ณัฎประเสริฐ, กัมปนาท บริบูรณ์และสุมาลี สังข์ศรี. (2560). การบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 10 (2), 861-878.

สุมาลี สังข์ศรี. (2548). การจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต: พิพิธภัณฑ์. รายงานการวิจัย.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทยปี 2559-2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. (2548). การจัดการเรียนรู้ของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต : ห้องสมุดประชาชน. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

วิวัฑฒน์ สมตน และรัฐพล ประดับเวทย์. (2558). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16 (2), 1-11.