7 กลไก การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มุมมองการจัดการภาครัฐใหม่รวมไปถึงทางเลือกที่เหมาะสม กับบริบทสังคมไทย จากการศึกษาพบว่า 7 กลไก การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ คือ การบริหารโดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ การลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ การอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่ยังขาดความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการ ภาครัฐทำให้ประชาชนเกิดอุปสรรคในการติดต่อกับระบบราชการจึงเกิดแนวคิดการบริหารจัดภาครัฐแนว ใหม่ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสังคมได้มากยิ่งขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรียกว่า การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
Article Details
References
ณัฐกฤช มุสิกะโสภณ. (2564). หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีกับหน่วยงานทางปกครอง. ออนไลน์ .สืบค้นเมื่อ. 1 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th › ewt›ewt _dl_link.
เบญจ์ พรพลธรรม. (2553). การจัดการความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมในบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิภาส ทองสุทธิ์. (2551). การบริหารจัดการที่ดี. กรุงเทพมหานคร: อินทภาษ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2553). พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2553). คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรอง การปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
อัษฎางค์ ปาณิกบุตร. (2564). ธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ. 1 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: http://wiki.kpi.ac.th.