การบริหารงานภาครัฐภายใต้บริบทการบริการสาธารณะแนวใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารงานภาครัฐภายใต้บริบทการบริการสาธารณะแนวใหม่ พบว่า การสร้างผลประโยชน์สาธารณะซึ่งผลประโยชน์สาธารณะนั้นจะต้องเป็นผลประโยชน์ในระยะยาวอันเกิดจากข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐ (ข้าราชการ) กับพลเมือง มิใช่ผู้ประกอบการกับลูกค้า การบริการสาธารณะแนวใหม่ให้ความสำคัญกับพลเมือง และหากกล่าวถึงคำว่า “พลเมือง” อาจขยายผลถึงสิทธิหน้าที่ที่ควรจะได้รับ สิทธิหน้าที่ที่ควรกระทำ และอาจครอบคลุมไปถึงการอยู่ภายใต้ศิลปะ ธรรมเนียม ประเพณี ความเชื่อเดียวกัน การได้มาซึ่งผลประโยชน์สาธารณะที่ตรงกับความต้องการของพลเมือง จึงต้องผ่านกระบวนการสนทนา ปรึกษาหารือ หาข้อยุติร่วมกัน กำหนดแนวทางร่วมกันมิใช่ถูกกำหนดโดยชนชั้นนำ ดังนั้นการบริการสาธารณะแนวใหม่จึงเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นการบริการเพื่อก่อให้เกิดผลประโยชน์สาธารณะ ให้ความสำคัญกับพลเมือง ผลประโยชน์สาธารณะ ความเป็นประชาธิปไตย ความสามารถในการรับผิดชอบได้ต่อพลเมือง การเจรจาต่อรองเพื่อหาข้อสรุปและพันธะสัญญาต่อพลเมืองและชุมชน เพื่อกระจายผลประโยชน์สาธารณะนั้นไปสู่สังคมอย่างแท้จริง
Article Details
References
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร). (2564). ประวัติความเป็นมา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.opdc.go.th/content/OQ.
สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2560). การบริหารงานภาครัฐกับมิติของความเปลี่ยนแปลงในการบริหารงานของหน่วยงาน ภาครัฐสู่การเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. รัฐสภาสาร. 65 (5), 9-34.
Denhardt, J. V. & Denhardt, R. B. (2007). The New PublicServices (Expanded Edition): Serving not Steering. Armonk, New York : M.E. Sharpe.
Henry, N. (2010). Public Administration and Public Affairs. (11 th ed). New York : Longman.
Hood, c. (1991). A public management for all seasons. Public Administration. 69, 3 - 19.
Stivers, C. M. (1989). Active Citizenship and Public Administration in Gary L. Wamsley and others. Refounding Public Administration. CA : Sage publications, Inc.