การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

หกพจน์รัตณ์ เพ็งคำ
ดุจเดือน ไชยพิชิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถด้านการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 2) พัฒนาความสามารถด้านการเขียนวิชาภาษาไทย เรื่องมาตราตัวสะกด ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีคะแนนตั้งแต่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 โรงเรียนวรราชวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย วิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบอัตนัย ประกอบด้วย ชุดที่ 1 ความสามารถด้านการอ่าน ประกอบด้วย อ่านถูกต้อง อ่านชัดเจน และเว้นวรรค จำนวน 25 ข้อ 30 คะแนน และการเขียนชุดที่ 2 ความสามารถด้านการเขียน ประกอบด้วย การเขียนถูกต้อง สื่อความหมายได้ตรง และสะอาดเป็นระเบียบ จำนวน 25 ข้อ 30 คะแนน (3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ เป็นแบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลความสามารถด้านการอ่านวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/5 จำนวนคะแนน 30 คะแนน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 26.81 คะแนน คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 89.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 2.04 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 89.19 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
          2. ผลความสามารถด้านการเขียนวิชาภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด ผ่านเกณฑ์ด้วยคะแนนเฉลี่ย 26.73 คิดเป็นร้อยละ 89.10 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.48 มีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 89.19 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว
          3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับผังมโนทัศน์ พบว่า 1) ด้านครูผู้สอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= 0.46) 2) ด้านสภาพแวดล้อมทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.46, S.D. = 0.44) 3) ด้านการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.94, S.D. = 0.28) 4) ด้านสื่อการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.72, S.D = 0.41) 5) ด้านการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.56, S.D. = 0.48)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2537). การอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: กระดาษสา.

นกอร ศรีวิลัย. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง พันธะเคมีตามรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

น้ำผึ้ง เสนดี. (2560). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบ STAD ร่วมกับการใช้ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บัญชา ชินโณ. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ (STAD) ร่วมกับกระบวนการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ พฤติกรรมการทำงานกลุ่มและเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ประไพลิน จันทร์หอม. (2547). ผลการสอนสุนทรียภาพของชีวิตโดยใช้เทคนิคการจัดผังมโนทัศน์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาสถาบันราชภัฏเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประวีณา เอ็นดู. (2547). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคำโดยใช้แบบฝึกทักษะชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พรระวี ภักดีณรงค์. (2555). ผลการใช้ผังมโนทัศน์สรุปเนื้อหาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2. วิทยาลัยเทคโนโลยีพายัพและบริหารธุรกิจ. โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ.

พิกุลทอง เรืองเดช และเอื้อมพร หลินเจริญ. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องวัสดุรอบตัวเราโดยใช้เทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยณเรศวร.

มะลิ อาจวิชัย. (2540). การพัฒนาแบบฝึกทักษะภาษาไทยเรื่องการเขียนสะกดคําไม่ตรงตามมาตราตัวสะกด แม่กน แม่กด และแม่กบ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มุกดา ลิบลับ. (2542). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏพระนคร.

วรรณี โสมประยูร. (2537). การสอนภาษาไทยในระดับประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพมหานคร: เลิฟแอนด์เลิฟเพรส.

เวิน ริทัศน์โส. (2559). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โดยจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ตามปรัชญาเศษฐกิจพอเพียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ศิริพร จึงรัศมีพานิช. (2554). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานระหว่างกลุ่มผลสัมฤทธิ์ STAD และกลุ่มเกมส์แข่งขัน TGT. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สุภาพร ชาบุญมี. (2554). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ โดยใช้เทคนิค STAD เรื่องระบบจํานวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Baroody, A. J. and Bartels, B.H. (2001). Assessing understanding in mathematics with concept mapping. Mathematics in School.

Garcia, C.A. (1998). The effect of two types of spelling instruction on first-grade reading, writing and spelling achievement. Dissertation Abstracts International.