การจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19 ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)

Main Article Content

ธนาธิป มะโนคำ
อัญชลี บุญจันทึก
นันท์นลิน สีแก่นวงค์
อารยา ศรีบุญเรือง
ลัดดา บรรเลงส่ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental research) รูปแบบ One Group Pretest Posttest Design มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  (2) ศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) จำนวน 80 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยตลอดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ บทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ t test independent samples และแบบวัดความพึงพอใจในการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านบทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง โควิด – 19  อยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรกนก ยงค์โภชน์. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ วิชาประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเขากะลาวิทยาคม. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรัตน์ ธิสานนท์. (2559). ผลการใช้บทเรียนออนไลน์ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้การเรียนรู้แบบโครงงานผ่านการเล่าเรื่องด้วยสื่อดิจิทัล สําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and development instructional model). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอสพริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณกาญจน์ บุญยก, ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี และกฤษณา คิดดี. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการนําเสนอด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง. 17 (2), 32-40.

วันเพ็ญ กันสุทธิ, นคร ละลอกน้ำ และ ฐิติชัย รักบำรุง. (2561). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์วิชาการออกแบบนําเสนอ เรื่องการดราฟรูป โดยใช้โปรแกรม Illustrator สําหรับนักเรียนโครงการนักกีฬาพิเศษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ .มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 6 (2), 178 –187.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: 1991 เทคนิคพริ้นติ้ง.

อนุชิต สอนสีดา. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี วิชาคอมพิวเตอร์ สําหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Carter and Marthea Bernadette. (2004). An Analysis and Comparison of the Effects of Computer-Assisted Instruction Versus Traditional Lecture Instruction on Student Attitudes and Achievement in a College Remedial Mathematics Course. Ed.D: Temple University.

Chang, Z. (2012). Student satisfaction, performance and knowledge construction in online collaborative learning. Belgium: Vrije Universiteit Brussel.

Shelly, M. W. (1975). Responding to social change. Stroudsburg, PA: Dowden Hutchision & Press.