การส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

ตรีรัตน์ นะรา
ปรเมศร์ กลิ่นหอม
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 และ 2. เปรียบเทียบการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 256 คน โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกนและการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามพื้นที่จัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูมีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ ด้านการประเมินผลการดำเนินงานกิจการนักเรียน ด้านการดำเนินการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน และด้านการส่งเสริมพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม 2. การเปรียบเทียบการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่พบว่า ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ในการทำงาน 5-10 ปี และ 11 ปี ขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนมากกว่าครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยกว่า 5 ปี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรกฤต หาพา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่ม 4. Journal of Modern Learning Development. 6 (1), 302-312.

เฉลิมพล สโมรินทร์. (2563). การศึกษาสภาพการบริหารงานนักเรียนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6 (5), 291-305.

ณัฐวุฒิ หว่านผล และศิริพงษ์ เศาภายน. (2564). การศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (1), 113-127.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิลม์และไซเท็กซ์.

วราภรณ์ บุญดอก. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารกิจการนักเรียนโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2560). มาตรฐานการปฏิบัติงานโรงเรียนมัธยมศึกษา พ.ศ.2552 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). นโยบายและแผนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา.

สุรพัชร เกตุรัตน์. (2562). การบริหารกิจการนักเรียนของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ราชบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10 (2), 996-1004.

อัครเดช อรรถจินดา. (2549). สภาพการบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.

Best, J. W. (1981). Research in education. (4th ed.). Englewood cliff: Prentice Hall.