ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ และการจัดทำรายงานทางการเงินของบุคลากร ในสำนักงานบัญชีคุณภาพ เขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กุลฑีรา จันทนา
อังคณา ลีรัตนานุกูลศิริ
ธีรดา บุญพามี
รัฐิยา ส่งสุข

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล ที่ส่งผลต่อการจัดทำรายงานทางการเงิน ของบุคลากรในสำนักงานบัญชีคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในสำนักงานบัญชีคุณภาพ  เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 137 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ หาค่าสถิติในการวิจัยประกอบด้วย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
          ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในสำนักงานบัญชีคุณภาพ  เขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41-50 ปี สถานะสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งผู้ทำบัญชีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล อยู่ที่ระดับมากที่สุด และปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอิทธิพลจากพลวัตเทคโนโลยียุคดิจิทัล ทั้งด้านการดำเนินธุรกิจและด้านการจัดทำรายงานทางการเงิน ประกอบด้วย ปัจจัยส่งเสริมแรงจูงใจภายในองค์กร ปัจจัยส่งเสริมแรงจูงใจภายนอกองค์กร และปัจจัยข้อบังคับทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลภู สันทะจักร และ กนกศักดิ์ สุขวัฒนาสินิทธิ์. (2562). ปัจจัยของนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 17 (1), 17-31.

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2559). แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/ 590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ก้าวทันมิติใหม่การบัญชี เร่งเสริมแกร่งผู้ประกอบธุรกิจสำนักงานบัญชีรับการเปลี่ยนแปลง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dbd.go.th/ewt _news.php?nid=469414025&filename=index

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2560). กรมพัฒน์ฯ พลิกโฉมสํานักงานบัญชีไทยสู่ Digital Accounting Firm. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.dbd.go.th/ewt_news. php?nid=469404627&filename=index [2564, 29 lสิงหาคม]

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2559). ความสำคัญของนักบัญชีต่อธุรกิจในยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.53ac.com/ความสำคัญของนักบัญชี.

กรรณิการ์ ลำลือ. (2552). คุณสมบัติของนักบัญชีที่พึงประสงค์ของสถานประกอบการในเขตจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กันฐิกา ทองสุข. (2562). ประสิทธิภาพการทำงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในการเป็นองค์การดิจิทัลตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล กรณีศึกษา สำนักงาน ก.พ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2 (2), 39-49.

กิตติยาภรณ์ อินธิปีก. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีใน ประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปฏิบัติงาน บัญชีสมัยใหม่, การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี, ความเชี่ยวชาญทางการบัญชีอย่างมืออาชีพที่มี ต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของนักบัญชีในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 11 (1), 17-34.

ทัศนีย์ ธนอนันต์ตระกูล และคณะ. (2564). ระดับความเป็นดิจิทัลของสำนักงานบัญชีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 5 (1), 97-107

ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์. (2562). แนวโน้มวิชาชีพบัญชีในปี2020 เตรียมพร้อมและปรับตัว. ออนไลน์. สืบค้น 20 กรกฎาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.dharmniti.co.th/acc-knowledge-acctren din2020

มงคล กิตติวุฒิไกร และมนัสดา ชัยสวนียากรณ์. (2560). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีในความต้องการของ สถานประกอบการในเขตจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12 (1), 27-37.

วริยา ปานปรุง และคณะ. (2561 ). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีต่อคุณลักษณะของนักบัญชีในยุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 "GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018" . 28 สิงหาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ศิริรัฐ โชติเวชการ. (2561). การพัฒนาของระบบ บัญชีคอมพิวเตอร์ที่น่าจับตามอง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.fap.or.th.

ศิริรัฐ โชติเวชการ. (2561). การใช้ประโยชน์ของ Artificial Intelligence (AI) ในงานบัญชี. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมป์. 68, 12-13.

Hair, J. F. Jr. Black, W. C., Babin, B. J. Anderson, R. E. and Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis. (6th ed). New Jersey: Prentice Hall

Kline, R. B. (2005). Principle and Practice of Structural Equation Modelling . 2nd edition. New York :The Guildford Press.

Ussahawanitchakit, weerachai. (2001). Resource-Vase Determinants of Export Performance : Effect of ISO 9000 Certification. Doctor’s Thesis. Washington : Washington State University.