ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2

Main Article Content

วิทยา คีรีกุลไพศาล
ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 2) เพื่อจัดลำดับความต้องการจำเป็นด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิดสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจ ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม    กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 จำนวน 78 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพที่พึงประสงค์ด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากทที่สุด สภาพที่เป็นจริงภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความต้องการจำเป็นด้านทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานการณ์โควิด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 เรียงดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นได้ ดังนี้ 1) ทักษะทางเทคโนโลยีดิจิทัล 2) ทักษะการสื่อสาร 3) ทักษะการคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ 4) ทักษะด้านการบริหารองค์กร 5) ทักษะการบริหารงานบุคคล 6) ทักษะการกำหนดทิศทางองค์กร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๐. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ16 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: http://backoffice.onec.go.th/ uploaded/Category/Laws/RuleMetDistEdMnt2550-02-12-2010.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-19. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/file/d

โชษิตา ศิริมั่น. (2564). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสู่ชีวิตใหม่ ด้านงานวิจัยทางสุขภาพ และการบริการ. 12 (8), 407-416

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น = Needs assessment research.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.