หนังลุงเมืองคอน : องค์ประกอบและการจัดการความรู้ของเครือข่ายการแสดง หนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

พีระพงค์ สุจริตพันธ์
เดโช แขน้ำแก้ว
เชษฐา มุหะหมัด
บุญยิ่ง ประทุม
ดำรงศ์พันธ์ ใจห้าววีระพงศ์

บทคัดย่อ

          บทความวิชาการนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง การสร้างความร่วมมือและเครือข่ายหนังตะลุงเพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนและสำนึกท้องถิ่นย่านตลาดวัฒนธรรมหน้าวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช  มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและการจัดการความรู้ของเครือข่ายการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า องค์ประกอบคือ คณะหนังตะลุงที่สันนิษฐานว่าพัฒนาการมาจากหนังใหญ่ มีสมาชิก 6-8 คน และใช้เครื่องดนตรี ได้แก่ ทับ 1 คู่ โหม่ง 1 คู่ กลองขนาดเล็ก1 ลูก ปี่ 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ และใช้เพลงสอดแทรกเพื่อสร้างความสนุกสนาน รูปหนังตะลุง เช่น ฤๅษี พระอิศวร ปรายหน้าบทเจ้าเมือง พระนาง ยักษ์ และตัวตลก เรื่องที่แสดงใช้เทคนิคการโต้วาทีและสอดคล้องกับสถานการณ์ทางสังคมตามโอกาสต่าง ๆ เช่น งานสมโภช งานเฉลิมฉลอง งานอัปมงคล และงานที่มีผู้จัดหารายได้ โดยมีความเชื่อในการแสดงหนังตะลุงตั้งแต่ก่อนออกจากบ้าน ในขณะเดินทาง เมื่อถึงบ้านเจ้าภาพเมื่อถึงโรงหนังและตอนเล่นหนังตะลุง ทั้งนี้มีการจัดการความรู้เพื่อการปรับตัวให้มีความร่วมสมัย เช่น เรื่องราวและดนตรี ซึ่งสื่ออัตลักษณ์เชิงวัฒนธรรมได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ชวน เพชรแก้ว. (2547). การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน. สารภาษาไทย, 2 (3), 14-23.

เทพประทาน ฤทธิรุฒม์, มนัส วัฒนไชยยศ และบรรจง ชลวิโรจน์. (2556). ดนตรีประกอบหนังตะลุง คณะนายหนังตะลุงในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 5 (1), 167-182.

เธียรชัย พันธ์คง, ศิริรักษ์ จวงทอง และสุชาดา สุวรรณขำ. (2559). การบูรณาการการแสดงหนังตะลุงกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษา หนังตะลุงนครินทร์ ชาทอง. Humanities & Social Sciences, 33 (3), 222-240.

ปิยตา สุนทรปิยะพันธ์. (2561). การสื่อสารในการเผยแพร่ความรู้ทางการเมืองผ่านหนังตะลุง ของนายหนังประเคียง ระฆังทอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 10 (3), 257-272.

ผกามาศ ชัยบุญ. (2559). เพลงทับในรูปแบบการแสดงหนังตะลุง : กรณีศึกษานายทับในคณะของนายหนัง ตะลุงที่ได้เป็นศิลปินแห่งชาติ. กระแสวัฒนธรรม. 17 (32), 44-58.

พระครูโอภาสวุฒิคุณ, พระครูโกศลอรรถกิจ และอุทัย เอกสะพัง. (2563). ศึกษาวิเคราะห์สัญญะที่ปรากฏในการแสดงหนังตะลุงของหนัง นครินทร์ ชาทอง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (8), 146-157.

พีระพงศ์ สุจริตพันธ์. (2561). การสื่อสารทางการเมืองผ่านหนังตะลุงภาคใต้ : ศึกษาในห้วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองปี พ.ศ.2548-2558. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการเมือง). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกริก.

พีระพงศ์ สุจริตพันธ์. (2562). การสื่อสารทางการเมืองผ่านหนังตะลุงภาคใต้ : ศึกษาในห้วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองปี พ.ศ.2548–2558. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 10 (2), 274-287.

รณชัย รัตนเศรษฐ. (2560). วัฒนธรรมดนตรีกับวิถีชีวิตในท้องถิ่นภาคตะวันออก: กรณีศึกษา หนังตะลุงคณะรักษ์ตะลุง จังหวัดตราด. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต. 12 (2), 111-126.

ศราณี เวศยาสิรินทร์ และคณะ. (2562). การสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 6 (2), 334-352.

สมบัติ สมศรีพลอย. (2559). หนังตะลุงเมืองเพชร: การศึกษาเชิงบทบาทหน้าที่. วรรณวิทัศน์. 16, 76-100.

สุกรี เกสรเกศรา. (2561). ส่องแสงแลเงาอดีตที่ทอดยาวถึงปัจจุบันสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย. วารสารวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 9 (2), 274-310.

สุกิตติ์ สวนอินทร์, สากล สถิตวิทยานันท์ และปราโมชย์ ประจนปัจจนึก. (2558). แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจากหนังตะลุงสู่การปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันของนายหนังและผู้ชม. วารสารปัญญาภิวัฒน์.

(พิเศษ), 99-110.

สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. (2547). ภูมิปัญญาทักษิณ. ใน เลิศชาย ศิริชัย (บก). ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากข้อเท็จจริงยกระดับสู่กระบวนทัศน์ความเข้มแข็งของชุมชน. นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลักษณ์.

สุพัตรา คงขำ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 7 (1), 242-255.

สุรินทร์ ทองทศ และคณะ. (2555). ศึกษากระบวนการถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติเกี่ยวกับประชาธิปไตย ผ่านตัวละครหนังตะลุง. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 31 (2), 54-62.

สุรินทร์ ทองทศ. (2559). ศึกษากระบวนถ่ายทอดแนวคิดของหนังสุชาติ ทรัพย์สิน ศิลปินแห่งชาติกับการ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชผ่านศิลปะการแสดงหนังตะลุง. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์. 8 (2), 23-32.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี เดชมณี. (2557). สื่อมวลชนกับหนังตะลุงไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 34 (3), 65-82.