สี่ร่วม : แนวทางพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการเรียนรู้ กรณีศึกษา พื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการเรียนรู้กรณีศึกษา พื้นที่เทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า แนวทางพัฒนาความร่วมมือและเครือข่ายการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การคิดแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกันเพื่อให้ตรงกับเป้าหมายหรือความต้องการของชุมชนโดยปราศจากความขัดแย้ง การเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นฐานในการคิดร่วมกันและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม 2) การคิดเพื่อเสนอเป็นทางเลือกและร่วมตัดสินใจในการแก้ปัญหาของชุมชนอย่างสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมแบบต่อเนื่อง 3) การลงมือปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนและปฏิบัติได้จริง มีองค์ความรู้เพื่อการจัดการชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ และ 4) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน บ่งชี้ถึง “สี่ร่วม” ได้แก่ ร่วมคิดแก้ปัญหา ร่วมคิดสร้างสรรค์ ร่วมปฏิบัติและจัดการชุมชน และร่วมเครือข่ายชุมชน ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
Article Details
References
ชัชนันท์ ถนอมวรสิน. (2562). ปัจจัยและผลลัพธ์ของการนำระบบสูบน้ำบาดาลด้วยโซล่าเซลล์มาใช้ในการทำการเกษตร. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7 (6), 1677-1687.
ณรงค์ ปัดแก้ว. (2564). ศึกษาองค์ความรู้และกระบวนการสร้างการจัดการพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 10 (2), 79-92.
แทนพันธ์ เสนะพันธุ์ บัวใหม่. (2563). ข้อทบทวนบางประการต่อค่านิยมการพึ่งพาตนเองในบริบทสังคมไทย ผ่านประสบการณ์ภาคสนามและการสะท้อนย้อนคิดของผู้เขียน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 12 (1), 1-24.
บุษราภรณ์ พวงปัญญา และภักดี โพธิ์สิงห์. (2560). ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น. วารสาร
ธรรมทรรศน์. 17 (1), 193-203.
พลกฤต เกษตรเวทิน. (2559). การจัดทำพิพิธภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในฐานะศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาชุมชนตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 11 (พิเศษ), 63-72.
รังสรรค์ สิงหเลิศ และนิภาภรณ์ จงวุฒิเวศย์. (2561). รูปแบบการพัฒนาชุมชนเพื่อพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาบ้านดอนแดง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 5 (1), 133-144.
สลา สามิภักดิ์. (2562). การให้ความหมายของ “คิดเป็น” โดยใช้ทฤษฎีฐานราก. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 12 (1), 387-403.
สำราญ ผลดี. (2559). แนวทางการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ธนบุรีศึกษา” มหาวิทยาลัยธนบุรี เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านท้องถิ่นธนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10 (21), 126-134.
สุนทรชัย ชอบยศ, ศักดิ์สิทธิ์ ฆารเลิศ และสุรชัย ทาระคุณ. (2563). การสร้างความร่วมมือของท้องถิ่นในการส่งเสริมกิจกรรมผู้สูงอายุเพื่อการอนุรักษ์และประยุกต์มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมหมอลำสินไซ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 18 (2), 104-128.
สุปราณี จันทร์ส่ง, บุญทัน ดอกไธสง, สอาด บรรเจิดฤทธิ์ และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2558). การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 10 (3), 273-283.
อิทธิพัทธ์ ศุภรัตนาวงศ์. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา เรื่อง สังคมไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts). 9 (2), 1734-1749.