การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคแบบมีส่วนร่วมในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

รัชภูมิ ศรีเพ็ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องมีวัตถุประสงค์เพื่อ คือ 1) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ และ 3) ศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 383 คน ที่ได้จากการแทนค่าในสูตรของ Taro Yamane วิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ       ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการน้ำตามหลักสาราณียธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสาราณียธรรมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.708) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ พบว่า ควรดำเนินการตามแนวทาง 2 แนวทางคือ 1) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของชุมชนและระหว่างชุมชน 2) การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระหว่างองค์กรชุมชน ภาครัฐและภาคเอกชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมชลประทาน. (2552). แผนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน พ.ศ. 2553-2556. กรุงเทพมหานคร: กรมชลประทาน.

พระครูนิวิฐศีลขันธ์, อัครเดช พรหมกัลป และ รัตติยา พรมกัลป. (2559). การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำรีในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่วงก์. รายงานวิจัย. ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช), ประจำปีงบประมาณ.

สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี และคณะ. (2554). การจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคในพื้นที่ลุ่มน้ำปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานการวิจัย. ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช).

โสภิดา สุรินทะ (2553). การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำของประชาชน : กรณีศึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ. (2562). แผนพัฒนาท้องถิ่น (พ.ศ.2561-2565). นครสวรรค์ : องค์การบริหารส่วนตำบลหนองโพ.

อัครเดช พรหมกัลป์. (2558). รูปแบบการพัฒนาบึงน้ำขนาดใหญ่แบบมีส่วนร่วมในสังคมไทย. รายงานการวิจัย. ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.