คุณภาพการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

พระมหาอำพล สมฺปนฺนพโล (มูระคา)

บทคัดย่อ

         การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสังคหวัตถุ 4 กับคุณภาพการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ ดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้ง 60 ปีขึ้นไป จำนวน 360 คน ซึ่งใช้วิธีการแทนค่าในสูตรของย่ามาเน (Yamane) วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตามหลักสังคหวัตถุธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ ตามหลักคุณภาพการให้บริการงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) หลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับคุณภาพการให้บริการงานสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลนครแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = 0.876) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) แนวทางการพัฒนาทางเทศบาลควรมีกระบวนการให้บริการทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ 3 กระบวนการ คือ 1) ศึกษา 2) อบรม 3) พัฒนา ด้วยการจัดโครงการอบรมจัดการความรู้แบบ KM ด้วยการบูรณาการหลักสังคหวัตถุธรรมและหลักการให้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ ภูรีพงศ์, สุพจน์ อินหว่าง และกัญญามน อินหว่าง. (2558). แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการของผู้สูงอายุในภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ . 1 (2), 1-17.

เทศบาลนครแม่สอด. (2558). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2558-2562). เทศบาลนครแม่สอด: จังหวัดตาก.

เทศบาลนครแม่สอด. (2563). สถิติผู้ใช้บริการกองสวัสดิการสังคม เดือนมิถุนายน 2562. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563. แหล่งที่มา : http://www.nakhonmaesotcity.go.th/th/Job_Management.php.

พระครูประภากรสิริธรรม (เกษมสุวณฺโณ). (2561). การศึกษาสุขภาวะของผู้สูงอายุในเขตชุมชนท่าอิฐ วัดแสงสิริธรรม ตำบลท่าอิฐ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตรี วิชัยวงษ์เจริญ กระพิลา และกมล บุตรชารี. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะด้วยหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ของชุมชนการเคหะหนองหอยจังหวัดเชียงใหม่”. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร . 10 (1), 169-179.

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3. (2558). การจัดสวัสดิการที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในแต่ละช่วงวัยกรณีศึกษาพื้นที่ : เมืองพัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อบต.ด่านชุมพล อ.บ่อไร่ จ.ตราด. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สำนักส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ. (2546). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.